นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาบทเรียน, M–Learning, การสร้างความรู้ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองเรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้บทเรียน M–Learning ที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน M–Learning ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จํานวน 31  คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  1) บทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง (นวัตกรรม ThingLink  เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร) มีดังนี้ด้านการจัดลำดับเนื้อหาในแต่ละตอนระดับมากที่สุด 64.51 ด้านปริมาณเนื้อหาในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 58.06 ด้านเนื้อหามีความเข้าใจง่ายต่อการเรียนรู้ระดับมากที่สุด 77.42 ด้านตัวอักษรอ่านง่ายและชัดเจนระดับมากที่สุด 74.19 ด้านสื่อประกอบชัดเจน ทำให้เข้าใจในเนื้อหาได้ดีระดับมากที่สุด 83.87

          ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้บทเรียน M–Learning ที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนมีผลการเรียนก่อนเรียนอยู่ที่ 39.67 และหลังเรียนอยู่ที่ 99.67  โดยมีค่าความต่างหลังจากที่นักเรียนเรียนด้วยใช้บทเรียน M–Learning อยู่ที่ 60.00

          ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า การทำแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง (นวัตกรรม ThingLink  เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร) มีดังนี้ด้านเนื้อหาในการเรียนรู้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสาระสำคัญในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมากที่สุด 90.32 ด้านความยากง่ายของบทเรียนมีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับมากที่สุด 45.16 ด้านนักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาในบทเรียนเพิ่มเติมได้ ตามเวลาที่ นักศึกษาต้องการระดับมากที่สุด 83.87 ด้านนักเรียนมีความรู้สึกพึงพอใจในการเรียนด้วย บทเรียน M–Learning ตัวอักษรอ่านง่ายและชัดเจนระดับมากที่สุด 77.42 ด้านแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีความสอดคล้องกับบทเรียนระดับมากที่สุด 83.87

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

นนทบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31