บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ธรรมิกสังคมนิยม DHAMMIC SOCIALISM เขียนโดย พุทธทาสภิกขุ
บทคัดย่อ
แนวคิดเรื่อง“ธัมมิกสังคมนิยม” เป็นสังคมในอุดมคติที่พึงปรารถนาของท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อให้แนวคิดระบบการเมืองที่ดีงามเกิดขึ้นตามอุดมคติของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเชื่อว่า ความอยากและ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาในสังคม ดังนั้นต้องทำให้คนในสังคมมีศีลธรรมมีธรรมะควบคุมจิตใจเสียก่อน จึงจะเกิดการเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของสังคมได้ สังคมนิยมดังกล่าวจึงจะต้องปฏิบัติตามหลักของศีลธรรมให้มีความสอดกับกฎธรรมชาติเรียกว่า“สัจธรรม” โดยเฉพาะมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยการมีอยู่ของสิ่งอื่น ในกฎธรรมชาติย่อมเป็นอย่างนี้อยู่เสมอ เช่นแผ่นดินจะดำรงอยู่ได้อย่างไร หากไม่มีต้นไม้ และต้นไม้จะอยู่ได้อย่างไรหากไม่มีแผ่นดิน
ท่านพุทธทาสภิกขุยกตัวอย่างว่าสวนโมกขพลารามก็อยู่ไม่ได้หากไม่มีนกตัวเล็ก ๆ คอยจิกกินหนอนกินแมลงที่ทำลายต้นไม้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมนิยมของธรรมชาติสร้างให้สิ่งทั้งหลายรวมตัวกันไม่ได้แยกเป็นส่วนตัว การเห็นแก่ตัวโดยไม่เห็นแก่สังคมและไม่เห็นแก่สิ่งอื่นคือ ความผิดพลาดที่สร้างปัญหาในที่สุด ดังนั้นในการมีชีวิตของเราจึงมีการโยงใยเป็นระบบของการมีชีวิตของสิ่งอื่น และระบบของสิ่งอื่นก็เป็นการมีชีวิตของเราด้วย ความเป็นเรานั้นไม่มี มีแต่การเรียงตัวต่อ ๆ กันของกฎธรรมชาติ เมื่อบางสิ่งดับลงชีวิตเราก็ดับลงไปด้วย การมีชีวิตที่อยู่เหนือการเกิดดับคือการไม่ยึดถือว่ามีเรานั่นเอง
เนื้อหาในหนังสือธรรมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาสภิกขุได้ทำให้แนวคิดในวงการระบบเมือง มีความลึกซึ้งอย่างที่สุดด้วยบทที่กล่าวถึงการเห็นแก่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ในใจเราสอดคล้องกับการเห็นแก่ส่วนรวมโดยตรง ซึ่งตรงข้ามกับระบบการเมืองในปัจจุบันที่ไม่ได้มีความหมายเพื่อความปกติ และการหลุดพ้น แต่เป็นการเพิ่มความรุนแรงในใจตนเองและเพิ่มความรุนแรงให้แก่ส่วนรวม ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเสมือนเป็นผู้เสนอทฤษฎีการเมืองที่กลับด้านกับสวนทางกับระบบการเมืองของโลก สร้างแนวคิดการเมืองที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติสร้างให้เกิดความสงบทางจิตใจ เป็นระบบการเมืองที่มีคุณภาพเริ่มต้นจากความปกติทางจิตใจของตนเองที่ไม่หวังกอบโกยทรัพยากรของส่วนรวมมาเป็นของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนี้การเมืองก็สามารถประสานสอดคล้องทำให้ทุกชีวิตดำรงอยู่ได้ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์