ความเชื่อและพิธีกรรม : อารยธรรมและความเชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ของคนไทยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง

ผู้แต่ง

  • ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ความเชื่อและพิธีกรรม, อารยธรรมและความเชื่อมโยง, ลุ่มน้ำโขงตอนกลาง

บทคัดย่อ

แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ไหลผ่านพม่า ลาว ไทย กัมพูชาแล้วจึงไหลออกทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม หกชาติในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงล้วนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการ ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชนชาติของตนมาตั้งแต่ครั้งโบราณ พระมหากษัตริย์เกือบทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมากะและเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาได้สร้างให้สังคมพุทธร่มเย็นเป็นสุข เป็นสถาบันหลักในการยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้อาณาจักร และเป็นรากฐานของขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง เป็นช่วงที่แม่น้ำโขงไหลผ่านและเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทยกับลาว นับตั้งแต่จังหวัดเลยจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง มีความผูกพันกับสายน้ำอย่างแน่นแฟ้น จนทำให้เกิดความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆจนกลายเป็นวัฒนธรรมโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ในสภาวะของโลกปัจจุบันเทคโนโลยีได้แพร่เข้ามาสู่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลางอย่างรวดเร็ว ทำให้เยาวชนรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ในชีวิตประจำวัน จนละเลยอารยธรรมพุทธที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ และทำให้สังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลางเริ่มเปลี่ยนไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31