กลไกสู่การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์: ไทยศึกษา พม่าศึกษาและศาสนศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระราชวรเมธี Asean Studies Centre,Mahachulalongkornrajavidyalaya University Ayutthaya 79 M.1, Phahon Yothin Road, Kilometer 55 Lam Sai, Wang Noi, Phra Nakhon Si Ayutthaya, 13170, Thailand.
  • ลำพอง กลมกูล
  • รัชนี จุลทะหว้า

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม, พม่าศึกษา, ไทยศึกษา, ศาสนศึกษา

บทคัดย่อ

 

             บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับกลไกสู่การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ด้านไทยศึกษา พม่าศึกษาและศาสนศึกษา ที่จะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยกับเมียนมาร์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนรวม กลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรไทยศึกษา Yangon University of Foreign Language (YUFL) และพม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลการศึกษาพบว่า ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารระหว่างกันและกัน โดยภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาศาสนา และวัฒนธรรม เป็นลักษณะร่วมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สู่ความเข้าใจ เข้าถึง และปรับตัวในสถานการณ์อย่างใหม่ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ และนำไปสู่ความเข้าใจ ความใส่ใจและการปรับตัว รวมทั้งเป็นกลไกในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพและการอยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31