การศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • วรท ตันติเวชวุฒิกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ทัศนคติในการอ่าน, แรงจูงใจในการอ่าน, ความวิตกกังวลในการอ่าน, นักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชาวไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ซึ่งศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในมหาวิทยาลัยของไทยมีจำนวนทั้งหมด 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติในการอ่านภาษาญี่ปุ่น แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการอ่านภาษาญี่ปุ่น และแบบสอบถามเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่น

ผลการศึกษาพบว่าระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นส่งผลทำให้ผู้เรียนระดับต้นและระดับกลางมีทัศนคติและความวิตกกังวลในการอ่านแตกต่างกัน ด้านทัศนคติพบว่าผู้เรียนระดับกลางรู้สึกประสบความสำเร็จในการอ่านภาษาญี่ปุ่นและคิดว่าการอ่านภาษาญี่ปุ่นมีประโยชน์ต่ออนาคตแตกต่างกับผู้เรียนระดับต้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้านความวิตกกังวลพบว่าผู้เรียนระดับต้นมีความวิตกกังวลเรื่องคำศัพท์และคันจิสูงกว่าผู้เรียนระดับกลาง เมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นระหว่างผู้เรียนที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานพบความแตกต่างด้านความวิตกกังวล ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานมีความวิตกกังวลสูงกว่าผู้เรียนที่มีพื้นฐานในด้านการเรียนรู้วัฒนธรรม ไวยากรณ์ และหัวข้อที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวล พบว่า ทัศนคติกับแรงจูงใจมีแนวโน้มไปทางเดียวกัน กล่าวคือยิ่งผู้เรียนมีทัศนคติในการอ่านที่ดีจะมีแรงจูงใจในการอ่านเพิ่มขึ้น และความวิตกกังวลจะส่งผลตรงกันข้ามกับแรงจูงใจ กล่าวคือยิ่งผู้เรียนมีความวิตกกังวลในการอ่านสูง จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการอ่านลดลง

References

เตวิช เศวตไอยาราม. (2559). กลยุทธ์การอ่านของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีความสามารถต่างกัน. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 33(3), 59-78.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ, สมเกียรติ เชวงกิจวณิช และ สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข (2546). การสำรวจความต้องการของนักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(1), 131-144.

ยุพกา ฟูกุชิม่า, กนกพร นุ่มทอง และ สร้อยสุดา ณ ระนอง. (2556). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างไร. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(1), 27-40.

อมรรัตน์ มะโนบาล และเตวิช เสวตไอยาราม. (2560). การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 7(1), 33-50.

Alexander, J. E., & Filler, R. C. (1976). Attitude and Reading. International Reading Association.

Carrell, P. L., & Grabe, W. (2002). Reading. In N. Schmitt (Ed.), An introduction to applied Linguistics (pp. 233-250). Arnold

Christopher, D. L. (2018). Motivation, Proficiency and Performance in Extensive Reading. International Journal of Innovation and Research in Educational Sciences, 6(3), 442-453.

Erten, I. H., Topkaya, Z. E., & Karakas, M. (2010). Exploring motivational constructs in foreign language reading. Hacettepe University Journal of Education, 39, 185-196.

Guthrie, J. T., Wigfield, A., & VonSecker, C. (2000). Effects of integrated instruction on motivation and strategy use in reading. Journal of Educational Psychology, 92(2), 331-341.

Ipek, H. (2009). Foreign language reading anxiety: proficiency and gender. The international Journal of Learning, 16, 293-299.

Jain, Y., & Sidhu, G. (2013). Relationship between Anxiety, Attitude and Motivation of Tertiary Students in Learning English as a Second Language. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 90, 114-123.

Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Pergamon Press.

Macintyre, P., & Gardner, R. (1991). Methods and results in the study of foreign language anxiety: A review of the literature. Language Learning, 41, 85-117.

Marinak, B. A., & Gambrell, L. B. (2008). Intrinsic Motivation and Rewards: What Sustains Young Children's Engagement with Text? Literacy Research and Instruction, 47, 9-26.

McKenna, M., Kear, D., & Ellsworth, R. A. (1995). Children’s attitudes toward reading: A national survey. Reading Research Quarterly, 30, 934-956.

Ölmez, F. (2015). An investigation into the relationship between L2 reading motivation and reading achievement. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 199, 597-603.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Intrinsic and extrinsic motivations: Classic definitions and new directions. Contemporary Educational Psychology, 25, 54-67.

Saito, Y., Horwitz, E., & Garza, T. (1999). Foreign language reading anxiety. The Modern Language Journal, 83(2), 202-218.

Senturk, B. (2015). EFL Turkish university students’ attitudes and motivation towards reading in English. Social and Behavioral Science, 199, 704-712.

Tisa, F., Sofendi, S., & Eryansyah, E. (2021). Reading and its relationships among attitude, motivation, and comprehension achievement in upper secondary school students. Journal of English Educators Society, 6(1), 42-51.

Torudom, K. (2016). An Investigation of Reading Attitudes, Motivation, and Reading Anxiety of Undergraduate Students. [Unpublished master’s thesis]. Thammasat University.

Torudom, K., & Taylor, P. (2017). An Investigation of Reading Attitudes, Motivation and Reading Anxiety of Undergraduate Students. Language Education and Acquisition Research Network Journal, 10, 47-70.

Zhao, A., Guo, Y., & Dynia, J. (2013). Foreign language reading anxiety: Chinese as a foreign language in the United States. The Modern Language Journal, 97(3), 764-778.

サグアンシー・タンヤーラット. (2016). 「外国語としての日本語における読解不安・外国語学 習不 安・読解力との関係 : タイ人大学生を対象に」『言語科学研究 : 神田外語大学大学院紀要 』, 22, 45-64.

福本和佳子、印道緑. (2016). 「文脈力をつける読解教育」『北九州市立大学国際論集』14, 157-170.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28