การใช้อักษรฮิรางานะและคาตาคานะของคำว่า “gomi” (ขยะ) ในภาษาญี่ปุ่น: การศึกษาแบบอิงคลังข้อมูลภาษา

ผู้แต่ง

  • โขมพัฒน์ ประวัง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ผณินทรา ธีรานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

อักษรญี่ปุ่น, ฮิรางานะ, คาตาคานะ, คลังข้อมูลภาษา, BCCWJ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการเขียนคำว่า “gomi” (ขยะ) ด้วยอักษรฮิรางานะและคาตาคานะในภาษาญี่ปุ่น จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากคลังข้อมูลภาษาเขียนภาษาญี่ปุ่น (BCCWJ) เพื่อให้ทราบว่าในสื่อพิมพ์ต่างๆ ใช้การเขียนในรูปแบบใด พร้อมทั้งวิเคราะห์เหตุผลในการใช้อักษรที่ต่างกัน โดยการเปรียบเทียบความถี่ที่ปรากฏในคลังข้อมูลภาษา พบว่า เมื่อพิจารณาตามชนิดของสื่อพิมพ์ทั้ง 11 แหล่ง เขียนในรูปของอักษรฮิรางานะมากกว่าคาตาคานะ โดยสื่อที่พบการใช้ในรูปอักษรฮิรางานะเท่านั้น คือ “บันทึกการประชุมรัฐสภา” สื่อที่พบการใช้ในรูปแบบของอักษรฮิรางานะมากกว่าอักษรคาตาคานะ คือ “หนังสือเรียน” “เอกสารประชาสัมพันธ์” “เอกสารราชการ” “หนังสือพิมพ์” สื่อที่พบในรูปของอักษรคาตาคานะมากกว่าอักษรฮิรางานะ คือ “หนังสือ” “นิตยสาร” “โคลงกลอน” “Yahoo blog” “Yahoo รู้รอบ” จากสื่อพิมพ์ที่ปรากฏอักษรดังกล่าวมานี้ สรุปได้ว่า สื่อที่เป็นการให้ข้อมูลโดยหน่วยงานของรัฐบาลพบการเขียนคำนี้ด้วยอักษรฮิรางานะมากกว่าซึ่งเป็นไปตามกฎการเขียนที่มีอยู่ แม้ว่ากฎในการเขียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป การใช้อักษรคาตาคานะเขียนคำ นี้มักเป็นสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูลรวมถึงอาจถ่ายทอดความบันเทิง และเป็นสื่อที่ผู้เขียนมีความอิสระในการเขียน ไม่มีการตรวจสอบเช่นในอินเทอร์เน็ต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-06