การส่งเสริมการ์ตูนของญี่ปุ่น: เครื่องมือเพิ่ม Soft Power และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • วาสนา ปานนวม

คำสำคัญ:

การ์ตูน, Soft Power, ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, Cool Japan

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพอื่ ศึกษาแรงจูงใจที่ญี่ปุ่นหันมาเน้นส่งเสริม การ์ตูนของตนในต่างประเทศ และศึกษาวิธีการส่งเสริมการ์ตูน ของญี่ปุ่นงานวิจัย นี่เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และได้นำเสนอข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลจากหนังสือและบทความวิชาการต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศโดยใช้กรอบแนวคิด Soft Power แนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy)และแนวคิด “ธุรกิจเนื้อหาสาระ” (The Content Business)

ผลการศึกษาพบว่า ภาครัฐมองเห็นประโยชน์ของการนำการ์ตูนซึ่งเป็นสินค้า Soft Power ส่งออกไปจำหน่ายและขยายตลาดในต่างประเทศของบริษัทและสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างน่าพึงพอใจ อีกทั้งการที่ชาวต่างชาตินิยมบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่น ยังมีส่วนทำให้ทัศนคติที่มีต่อประเทศญี่ปุ่นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงร่างยุทธศาสตร์ Cool Japan เพื่อใช้วางแนวทางดำเนินการส่งเสริมการ์ตูนอย่างแข็งขันมากขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการและงานแสดงต่างๆ การจัดทำแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดทำเว็บไซต์ การใช้ตัวการ์ตูนเป็นสื่อ แต่งคอสเพลย์ในการประชาสัมพันธ์ในงานสำคัญต่างๆ

ในด้านการสร้างบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างบุคลากรของวงการการ์ตูนโดยการพัฒนาหลักสูตรการ์ตูนและการจัดฝึกอบรม ด้านการวิจัยและการจัดการองค์ความรู้ ภาครัฐมีบทบาทสำคัญมากในการจัดทำฐานข้อมูลของคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Archive) และศูนย์ความเป็นเลิศ (COE)และร่วมกับภาคเอกชนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนั้น ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในด้านการทูต มีการแต่งตั้งโดราเอม่อนเป็น “ทูตวัฒนธรรมการ์ตูน” และการจัดประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ

Downloads