รูปแบบการออกเสียงพยัญชนะท้ายนาสิกในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย

ผู้แต่ง

  • ธนศักดิ์ ศิริคะเณรัตน์

คำสำคัญ:

การรับระบบเสียง, ความแปลกเด่น, การกลมกลืนฐานกรณ์เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกในภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษารูปแบบการกลมกลืนฐานกรณ์เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก หรือ การออกเสียง ん ของผู้เรียนชาวไทย 15 คน และวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนออกเสียงผิดพลาด จากผลการทดลองพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่มีการกลมกลืนเสียงเลย และกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่แสดงการกลมกลืนเสียงในการออกเสียง ん กลุ่มที่สองสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกสองกลุ่มคือ กลุ่มที่มีการกลมกลืนเสียง แต่ออกเสียง ん เป็น [n] หรือ [ŋ] เท่านั้น และกลุ่มที่ออกเสียง ん เป็นทั้ง 3 เสียงคือ [m], [n]และ [ŋ] นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองทั้ง 15 คนออกเสียง ん เป็น [m] เมื่อมีเสียงริมฝีปากตามมาเท่านั้น บทความนี้เสนอว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกเสียงผิดพลาดในการกลมกลืนฐานกรณ์เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก มี 2 ประการ คือ การถ่ายโอนภาษา และความแปลกเด่นของเสียง [m]

Downloads