ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงในชีวิต ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และ 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและพักอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 478 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ มีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นการจัดหาสถานที่เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการโดยเฉพาะในประเด็นการได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/843.
กัญญาณัฐ ไฝคํา. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ธนบุรี. 7(2), 19-26.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 27-32.
ธนิต โตอดิเทพย์. (2564). แนวทางการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 15(1), 18-28.
ฤดีมาศ พุทธมาตย์. (2562). การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565: ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567). รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567: ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการทางสังคมที่ยั่งยืน ในช่วงแผนฯ 11. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. (2567). เอกสารการตรวจราชการ ประจำปี 2567. รายงานการประชุมตรวจราชการ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี.
อัศวิน ลิ้มฤกษ์ลำรึก. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 5(1), 42-57
Best, J. W., & Kahn, J. V. (2003). Research in education (9th ed.). Allyn and Bacon.
Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Schaffer, M. A. (2004). Social support. In S. J. Peterson, & T. S. Bredow (Eds.), Middle range theories: Application to nursing research (2nd ed., pp. 179-202). Lippincott Williams and Wilkins.
WHOQOL Group. (1994). The World Health Organization Quality of Life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine, 41, 1403-1409.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory analysis. Harper and Row Publication.