ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนและหลังปี พ.ศ. 2561 2) เปรียบเทียบนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และ 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. 2561 และมีปัญหาหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ประชาชนยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 สำหรับนครหลวงเวียงจันทน์ หลังปี พ.ศ. 2563 ปัญหาฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาป่าเพื่อการเกษตร ไฟป่า การก่อสร้าง และการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ ส่วนกรุงเทพมหานคร ปัญหาฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการปล่อยควันจากรถยนต์ การเผาขยะและการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม การเปรียบเทียบนโยบายพบว่า กรุงเทพมหานครมีแผนแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นระบบ โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2567 และแผนแม่บทระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมถึงมาตรฐาน Zero Emission และมาตรการทั้งระยะสั้นและยาว ขณะที่นครหลวงเวียงจันทน์ยังไม่มีแผนชัดเจน มีเพียงหน่วยเฉพาะกิจและคำสั่งรัฐบาลในการป้องกันไฟป่าและการเผาจากการเกษตร ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกรุงเทพมหานคร คือ การบังคับใช้กฎหมายห้ามเผา ศึกษาและเปิดเผยข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 และกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น กลาง และยาว ส่วนข้อเสนอสำหรับนครหลวงเวียงจันทน์คือการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาคเอกชน และประชาสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมืออาชีพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การศึกษาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในอาคารและสถานศึกษา. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). การติดตามตรวจสอบปริมาณฝุนละออง. กรมควบคุมมลพิษ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของลาว. (2023). นโยบายการเฝ้าระวัง pm2.5 นครหลวงเวียงจันทน์. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของลาว.
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2562). เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย. กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง.
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2563). การจัดทําสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการปูองกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักสิ่งแวดล้อม. (2565). บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ. สำนักสิ่งแวดล้อม.
องค์กรอนามัยโลก (WHO). (2565). การกำนดค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศ. องค์กรอนามัยโลก (WHO).
Allwellhealthcare. (2024). PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ภัยร้ายใกล้ตัว. https://allwellhealthcare.com/pm25/
Thailand Development Research Institute (TDRI). (2023). ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5. https://tdri.or.th/2023/03/pm2-5-thailands-solutions/
U.S. EPA. (2003). The particle pollution report. https://www.epa.gov/sites/default/files/2017-11/documents/pp_report_2003.pdf