การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

อัฏฐพล โพธิพิพิธ
คณิต เขียววิชัย
วรรณวีร์ บุญคุ้ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เสนอผลจากการวิจัยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและวิเคราะห์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดกาญจนบุรี 2) พัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) รับรองกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ SWOT และ TOWs Matrix และสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษาพบว่า 1) จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลากหลาย มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ความเชื่อ และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยว พบว่า
มีกลยุทธ์สำคัญ 4 กลยุทธ์คือ (1) กลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน (2) กลยุทธ์การปรับปรุง พัฒนาการตลาดสำหรับการบริการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
(3) กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการบอกเล่าเรื่องราวทางการท่องเที่ยว และ (4) กลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 3) ผลการรับรองกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2546). เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย. การท่องเที่ยวแห่งประทศไทย.

กิตติทัช เขียวฉอ้อน สินี เพชรเจริญสุขแสง และน้ำทิพย์ ศรีนิล (2565) ได้ศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของบ้านนริมนาโฮมเสตย์ ชุมชนตำคร้ำเอน จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 7-8 กรกฎาคม 2565. หน้า 2557-2569.

กิตติยา แกะเฮ้า. (2563). แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

คณิต เขียววิชัย และวรรณภา แสงวัฒนะกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จังหวัดกาญจนบุรี. (2565). ข้อมูลทั่วไป. http://www.kanburi.go.th

ชณัฏฐ์ พงศ์ธราธิก และคณะ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทัศน์, 6(3), 77-91.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2553). การศึกษาสภาพการณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(1), 19-23.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พจนา บุญคุ้ม. (2550). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). กลยุทธ์ ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ออนไลน์).

พจนา บุญคุ้ม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. Veridian-E Journal, Silpakorn University, 8(2), 2793-2808.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และภาคภูมิ ภัควิภาส. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า เพื่อความยั่งยืน. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 6(1), 42-60.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. สำนักนายกรัฐมนตรี.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลุยุทธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชระ เวชประสิทธิ์ โสภาพร กล่ำสกุล และ จริยา รัชตโสตถิ์. (2562). การพัฒนาสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร เทศบาลตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 วันที่ 30 มีนาคม 2562. หน้า 54-64.

วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วรรณวีร์ บุญคุ้ม และพจนา บุญคุ้ม. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์ เส้นทางกาญจนบุรี-ทวาย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 3(2), 105-128.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 244-256.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2555–2559). สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564–2565). คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Best, J. (1981). Research in education (4th ed.). Prentice Hall.

Howell, D. (1989). Passport: An instruction to the travel and tourism industry. South-Western Publications.

Travel Magazine. (2022). ภาพรวมสถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566. https://tatreviewmagazine.com/article/situation2022-inter

World Tourism Organization (WTO). (1997). Tourism 2012 vision. World Tourism Organization.

World Tourism Organization (WTO). (2003). Sustainable tourism: Institutional tourism industry. World Tourism Organization.