การประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์: กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ปิยพัณภูมิ ทองประสงค์

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ซึ่งสถาบันฯ ได้นำเอาแนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ไปปรับใช้เป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุขีดความสามารถอย่างเหมาะสม นำมาซึ่งจะกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ไปสู่องค์การชั้นนำด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลระดับโลก โดยเริ่มต้นจากการเล็งเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการนำแนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์มาปรับใช้กับกรอบแนวคิดหลักในการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสม จนถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามแนวคิดพัฒนาทุนมนุษย์ของสถาบันฯ ที่ใช้ได้เป็นแผนดำเนินการนำมาปฏิบัติใช้จริง องค์การบรรลุขีดความสามารถที่กำหนดได้ โดยมองจากผลลัพธ์การดำเนินการของสถาบันฯ ที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น กล่าวคือมีผลปฏิบัติงานของบุคลากรดีขึ้น สามารถดึงศักยภาพที่แฝงอยู่ภายในตัวบุคลากรนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับเป้าหมายวิสัยทัศน์ของสถาบันฯได้ การมีทุนมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นย่อมเป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่องค์การ อย่างไรก็ตามยังมีเหตุปัจจัยในการพัฒนาบุคลากรที่ไม่อาจควบคุมได้ และสถาบันฯ ยังคงต้องลงทุนพัฒนามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ให้มีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง และสามารถพึ่งพาตนเองในระยะยาวได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ทองประสงค์ ป. (2025). การประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์: กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 11(2), 202–217. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/268980
บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา ครูพิพรม (2563). การพัฒนาทุนมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม. (2560). อนาคตภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ที่มีประสิทธิพล. [เอกสารไม่ตีพิมพ์]. สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 103¬–108.

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2551). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

รติพร ถึงฝั่ง และโกศล จิตวิรัตน์. (2552). การพัฒนาทุนมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัต. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 7(2). 27–40.

ระบิล พ้นภัย. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ความสามารถในการแบ่งปันความรู้ของบุคลากรในองค์การ: ปรากฎการณ์เชิงประจักษ์ของธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2551). ทุนมนุษย์และบทบาทในการพัฒนาองค์กร. วารสารรามคำแหง, 25(2), 205–207.

ศิริพร แย้มนิล. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน. DPU Coolprint มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. (2567ก). ประวัติความเป็นมา. https://mb.mahidol.ac.th/web/th/history/

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. (2567ข). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม. https://mb.mahidol.ac.th/web/th/vision-missions-and-core-values/

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. (2567ค). รายงานการประเมินตนเอง (SAR-EdPEx) ประจำปี 2566. https://mb-intranet.mahidol.ac.th/th/office-of-general-management-2/

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. (2567ง). ประกาศสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. https://mb-intranet.mahidol.ac.th/th/mb-announcement/

Amayah, A. T., & Gedro, J. (2014). Understanding generational diversity: Strategic human resource management and development across the generational “divide.” New Horizons in Adult Education and Human Resource Development, 26(2), 36–48. https://doi.org/10.1002/nha3.20061

Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.

Becker, G. (1964). Human capital (2nd ed.). Columbia University Press.

Gratton, L., & Ghoshal, S. (2003). Managing personal human capital: New ethos for the ‘volunteer’ employee. European Management Journal, 21(1), 1–10. https://doi.org/10.1016/S0263-2373(02)00149-4

Schultz, T. W. (1961). Investment in human capital. The American Economic Review, 51(1), 1–17. https://www.jstor.org/stable/1818907