ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติในกรมที่ดิน (ส่วนกลาง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดกรมที่ดิน (ส่วนกลาง) เกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมที่ดินไปปฏิบัติ ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนำนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติ ตามปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการสังกัดกรมที่ดิน (ส่วนกลาง) และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ข้าราชการสังกัดกรมที่ดิน (ส่วนกลาง) จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดกรมที่ดิน (ส่วนกลาง) มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเกื้อหนุนในการนำนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมที่ดินไปปฏิบัติ ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายเป็นปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านความร่วมมือหรือการตอบสนองของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยด้านคุณภาพของบุคลากร และปัจจัยด้านทรัพยากรของนโยบาย ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดกรมที่ดิน (ส่วนกลาง) ที่ปฏิบัติงานในสังกัดที่ต่างกัน มีความเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ได้แก่ กรมที่ดินควรทบทวนเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานในแต่ละเนื้องานทั้งหมด, จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอมาใช้ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ, จัดการอบรวมให้ความรู้แก่ข้าราชการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ และทบทวนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภายในกรมที่ดิน โดยเน้นความสำคัญและความเชื่อมโยงกับนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมที่ดิน. (2566). มาตรฐานและแนวปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565. https://www.dol.go.th/legal/Pages/Electronics2.aspx
ผุสดี บุญมีรอด. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปปฏิบัติองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ทิพาพร พิมพิสุทธิ์. (2551). การกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวคิด กระบวนการและการวิเคราะห์. คะนึงนิจการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2540). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. สำนักพิมพ์กราฟิคฟอร์แมท.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565. https://www.opdc.go.th/content/NzgzMA.
Bardach, E. (1977). The implementation game: What happens after a bill becomes a law. MIT Press.
Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Pearson.
Mergel, I., Edelmann, N., & Haug, N. (2019). Defining digital transformation: Results from expert interviews. Government Information Quarterly, 36(4), 101385. https://doi.org/10.1016/j.giq.2019.06.002
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (2010). Psychometric theory (3rd ed.). Tata McGraw Hill Education Private Ltd.
Pressman, J. L., & Wildavsky, A. B. (1973). Implementation (2nd ed.). University of California Press.
Sabatier, P.A., & Mazmanian, D.A. (1980). The implementation of public policy: A framework of analysis. Policy Studies Journal, 8(special issue), 538-550.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society, 6(4), 463.
Williams, W. (1971). Social policy research and analysis: The experience in the federal social agencies. American Elsevier Publishing Co.
Yamane, T. (1973). Statistics, An introductory analysis. Harper and Row.