การวัดระดับความรุนแรงของคดียาเสพติดประเภทไอซ์ กัญชาแห้ง เมทแอมเฟตามีน และเฮโรอีน และความสัมพันธ์ระหว่างคดียาเสพติด และความหนาแน่นเชิงพื้นที่และความหนาแน่นของประชากรในประเทศไทย

Main Article Content

วาริษา ใกล้แก้ว
ไพเราะ ไพรหิรัญกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงของคดียาเสพติด 4 ประเภท ได้แก่ ไอซ์ กัญชาแห้ง เมทแอมเฟตามีน และเฮโรอีน วิเคราะห์ความหนาแน่นเชิงพื้นที่ของจำนวนคดียาเสพติดทั้ง 4 ประเภท (คดี: ตารางกิโลเมตร) ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของประชากร (คน: ตารางกิโลเมตร) กับ ก) ความหนาแน่นของจำนวนคดียาเสพติดต่อพื้นที่ (คดี: ตารางกิโลเมตร) ข) ความหนาแน่นของจำนวนผู้ต้องหาต่อพื้นที่ (ผู้ต้องหา: ตารางกิโลเมตร) และ ค) ความหนาแน่นของจำนวนผู้เสพยาเสพติดต่อพื้นที่ (ผู้เสพ: ตารางกิโลเมตร) ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงของคดียาเสพติดในประเทศไทย สามารถวัดได้จาก (1) ค่าน้ำหนักของกลางต่อหนึ่งคดี และ (2) ค่าน้ำหนักของกลางต่อผู้ต้องหาหนึ่งคน การศึกษาความหนาแน่นเชิงพื้นที่ของคดียาเสพติดพบว่า ยาเสพติดประเภทไอซ์ กัญชาแห้ง และเมทแอมเฟตามีน มีความหนาแน่นของจำนวนคดีมากที่สุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ ด้านคดีเฮโรอีนพบว่า ความหนาแน่นของจำนวนคดีมากที่สุดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ แถบจังหวัดภูเก็ต ปัตตานี และนราธิวาส เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 งานวิจัยนี้พบว่า ความหนาแน่นของประชากรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ 1) ความหนาแน่นของจำนวนคดียาเสพติด 2) ความหนาแน่นของจำนวนผู้ต้องหา และ 3) ความหนาแน่นของจำนวนผู้เสพยาเสพติด โดยไอซ์มีความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมา คือ กัญชาแห้ง และเมทแอมเฟตามีน ตามลำดับ ส่วนความหนาแน่นของจำนวนคดี จำนวนผู้ต้องหา และจำนวนผู้เสพในสารเสพติดประเภทเฮโรอีนมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด ผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่า ความหนาแน่นของประชากรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ในการทำนายคดียาเสพติดประเภทไอซ์ กัญชาแห้ง และเมทแอมเฟตามีน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจใช้เพื่อการเฝ้าระวังการเกิดคดียาเสพติดในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา ไทยกล้า. (2565). ตลาดการค้ายาเสพติดในประเทศไทย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กาญจนา คุณารักษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติด: กรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนพนธ์ อินอาน. (2561). การพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์คดียาเสพติด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นัฐวุฒิ หนูทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการค้ายาเสพติดของผ้ต้องขังเรือนจำจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุรฉัตร จันทร์แดง. (2560). บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 37-56.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. (2564, 8 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก. หน้า 1-80.

พิชเยศ ชูเมือง. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาคดียาเสพติด: กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มณีรัตน์ ชื่นเจริญ. (2558). กระบวนการกลายเป็นเด็กและเยาวชนหญิงค้ายาบ้า: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ มั่งคั่ง, จินตนา วัชรสินธุ์ และ วรรณี เดียวอิศเรศ. (2549). ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชาย ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง, วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 53-63.

สราวุธ เรืองบุตร. (2556). การเข้าสู่กระบวนการค้ายาเสพติด: กรณีศึกษาผู้ค้าเมทแอมเฟตามีนหรือผู้ค้ายาบ้า เรือนจำกลางอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). สถานการณ์ปัญหายาเสพติดพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ห้วงตุลาคม 2559 – มีนาคม 2560. https://www.oncb.go.th/ONCB_OR9/picture/สถานการณ์%207%20จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง%20ต.ค.%2059-มี.ค.60.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ: รายงานประจำปี 2562. https://www.oncb.go.th/DocLib/ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ%20ปี%202562.pdf

สุทัศน์ ทองเงิน, ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี และ ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประชากรของผู้กระทำความผิดและข้อมูลเชิงคดีของคดียาเสพติดให้โทษ ในอำเภอบ้านโป่ง ในปี พ.ศ. 2558. วารสารสังคมศาสตร์, 9(1), 123-133.

Bennett, T., Holloway, K., & Farrington, D. (2008). The statistical association between drug misuse and crime: A meta-analysis. Aggression and Violent Behavior, 13(2), 107–118. https://doi.org/10.1016/j.avb.2008.02.001

Cheurprakobkit, S. (2000). The drug situation in Thailand: The role of government and the police. Drug and Alcohol Review, 19(1), 17–26. https://doi.org/10.1080/09595230096101

Chokprajakchat, S., Techagaisiyavanit, W., Iyavarakul, T., & Kuanliang, A. (2022). When criminal diversion is a temporary solution: Rethinking drug rehabilitation policy in Thailand. Current Issues in Criminal Justice, 34(4), 418–434. https://doi.org/10.1080/10345329.2022.2133379

Chokprajakchat, S., Techagaisiyavanit, W., Mulaphong, D., Iyavarakul, T., Kuanliang, A., & Laosunthorn, C. (2024). Tracking violence in Thailand: The making of violent crime index. Security Journal, 37(1), 90–109. https://doi.org/10.1057/s41284-023-00369-2

Curtis, A., Curtis, J. W., Porter, L. C., Jefferis, E., & Shook, E. (2016). Context and spatial nuance inside a neighborhood’s drug hotspot: Implications for the crime–health nexus. Annals of the American Association of Geographers, 106(4), 819–836. https://doi.org/10.1080/24694452.2016.1164582

de Winter, J. C. F., Gosling, S. D., & Potter, J. (2016). Comparing the Pearson and Spearman correlation coefficients across distributions and sample sizes: A tutorial using simulations and empirical data. Psychological Methods, 21(3), 273–290. https://doi.org/10.1037/met0000079

Evans, C. B. R., Stalker, K. C., & Brown, M. E. (2021). A systematic review of crime/violence and substance use prevention programs. Aggression and Violent Behavior, 56, 101513. https://doi.org/10.1016/j.avb.2020.101513

Mazerolle, L., Soole, D., & Rombouts, S. (2007). Drug law enforcement: A review of the evaluation literature. Police Quarterly, 10(2), 115–153. https://doi.org/10.1177/1098611106287776