การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ และ 2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ตามค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลจากกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และเจ้าหน้าที่ภาควิชาศึกษาศาสตร์ มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 70 คน ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 58 คน กรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาควิชาศึกษาศาสตร์ จำนวน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดล 9.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 14 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การอยู่ที่ระดับ 3.59 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การมหาวิทยาลัยมหิดลอาจจะดำเนินการได้ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตร โดยมีแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การ เช่น สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับค่านิยมองค์การในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกหลักสูตรของภาควิชาศึกษาศาสตร์ สื่อสารเกี่ยวกับค่านิยมองค์การให้ทราบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในทุกช่องทาง ยกย่อง ชมเชยให้รางวัลนักศึกษาที่ปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การ เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์. (2559). Vision & Core Value เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การ กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม. 3 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร.
ชัยวงศ์ ชวนะรักษ์. (2555). ค่านิยมร่วมขององค์กร (share value). https://www.gotoknow.org/posts/60394
ธันย์ สุภัทรพันธุ์. (2554). "Mahidol Culture" คู่มือจัดทำรายการประเมินตนเองตามระบบคุณภาพ ระยะที่ 3. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธารินี บัวสุข. (2560). ค่านิยมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของวิสัญญีพยาบาล รุ่นอายุเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย. (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัชรัศม์ ชูหิรัญญ์วัฒน์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ขับขึ่
รถจักรยานยนต์ ภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. (โครงงานวิศวกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ภารดี เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา. (2561). แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมมหิดลของบุคลากรสาย สนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชชา มานนท์. (2557). ระดับการรับรู้ค่านิยมองค์กรของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างวัฒนธรรมเชิงจริยธรรมในองค์กร (Ethical DNA). วันที่ 28 พฤษภาคม 2557. http://www2.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/ocsc__edna_training_slide_updated_28_5_2557_๐.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แผนส่งเสริมและถ่ายทอดค่านิยม สกศ. (OEC Way). บริษัท พริก หวานกราฟฟิค จำกัด.
อรทัย หรูเจริญพรพานิช และ อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์. (2551). การเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่: มิติของความแตกต่างทาง “เพศ” และ “เพศภาวะ” ของบุตร. https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/2551_conference_full.pdf
อริยา ธัญญพืช. (2554). กว่าจะเป็นวัฒนธรรมมหิดล: สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. เวชบันทึกศิริราช, 4(2), 53-56.
Gregoriadis, A., Zachopoulou, E., Grammatikopoulos, V., & Liukkonen, J. (2014). Good practices in early childhood education: Looking at early educators' perspectives in six European countries. https://www.researchgate.net/publication/266265955_Good_Practices_in_Early_Childhood_Education_Looking_at_Early_Educators'_Perspectives_in_Six_European_Countries
OECD. (2013). PISA 2012 results: What makes schools successful? Resources, policies and practices (Volume IV). OECD publications.
Thailand Quality Class. (2563). มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www. tqa.or.th/wp- content/ uploads/2020/05/มหาวิทยาลัยมหิดล.pdf