การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 116 คน ในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สำหรับวิเคราะห์และอธิบายข้อมูลระดับการรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการหาค่าสถิติแบบ Independent-samples t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุงาน สายงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ อายุงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับความคาดหวังต่อรูปแบบของสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีสายงานที่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2554). สวัสดิการแรงงาน. https://www.labour.go.th/index.php/hm8/81-2011-06-02-15-06-22
กาญจนา ทารินทร์. (2561). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้และความคาดหวังที่มีต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC). การค้นคว้าอิสระ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กองทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). สวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ.https://op.mahidol.ac.th/hr/welfare/flexible-benefit/
เทพพนม เมืองแมน และ สวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. ไทยวัฒนาพาณิช.
พิสิฐ มหามงคล. (2546). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของบริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). ส่วนงาน. https://mahidol.ac.th/th/faculty-2/
รัตติกรณ์ จงวิศาล. 2560. มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2548). การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ บจก.บพิธการพิมพ์.
เอกรินทร์ จงเสรีเจริญ. (2558). การรับรู้ของข้าราชการทหารต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2547 กรณีศึกษากองพันทหารราบในกองพลทหารราบที่ 9. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. McGraw-Hill.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Education Research, 2, 49- 60.