ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่

Main Article Content

วราวุธ วงศ์ใหญ่
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 250 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาตรค่าเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .93, .85, .88, .91, .89, .89, .87 ตามลำดับ และความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ ด้านการทำงานเป็นทีมและแบบเครือข่าย ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านโครงสร้างที่เหมาะสม ด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การ ด้านบรรยากาศที่สนับสนุน และด้านภาวะผู้นำ 2) สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านความรอบรู้แห่งตน และด้านแบบแผนความคิดอ่าน 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงมากกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมการพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


z' = 0.500Z2 + 0.250Z3 - 0.215Z4 + 0.150Z5 + 0.197Z6 + 0.384Z7 + 0.113Z8


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญรุ่ง อยู่ใจเย็น. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เขตอรัญ จันทร์สระแก้ว. (2560). รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบริษัทฟูจิสึ เท็น (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2)-253-260.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

เฉลิมฤทธิ์ สาระกุล และ สุรางค์ เทพศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัด สำนักงานเขตสระบุรี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2330

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ใน การวิจัยการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยสิทธิ์ ปิยมาตย์. (2556). ปัจจัยภายนอกองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดวงนภา เสมทับ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นครินทร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุทธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

บดินทร์ ฟองใหญ่. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เปรมศิริ เนื้อเย็น. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พงศกร เอี่ยมสอาด และคนอื่น ๆ. (2559). ปัจจัยความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 130–142.

พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 1944-1960.

รูสนานี ยาโม. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ สถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เลิศพงศ์ ไปนาน. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วสันต์ สุทธาวาศ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 748-767.

ศิรัญญา สระ. (2557). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามทรรศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. รายงานสืบเนื่องจากการ ประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding). เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. หน้า 1367–1378.

ศิริภรณ์ จำปาทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา เขต 2. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สายฝน พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุภมาส อังศุโชติ และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวิจัยและการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Hoy, W., & Miskel, C. (2001). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.). McGraw-Hill.

Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: A system approach to quantum improvement and global success. McGraw-Hill.

Marquardt, M. J., & Reynold, A. (1994). The global learning organization. IRWIN.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. Oxford University Press.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. Doubleday.

Yamane, T. (1973). Statistics, An introductory analysis. Harper and Row.