ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 2) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 297 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของครู ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การทำงานเป็นทีมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นโยบายการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครือข่ายความร่วมมือ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะของครู การทำงานเป็นทีมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นโยบายการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครือข่ายความร่วมมือ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมาก คือ การส่งต่อนักเรียน 3) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ นโยบายการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สมรรถนะของครู ด้านเครือข่ายความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาได้ร้อยละ 64.5
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชฎารัตน์ พลเดช. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนากร อุมะวรรณ. (2565). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นฤมล กอบแก้ว. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประชุม ปิ่นสกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาค่าเครื่องมือวัดและประเมินผล. โครงการบริหารวิชาการ ท่าสาบโมเดล, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.
พันทิพย์ โขมะนาม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
มาโนช ตัญยงค์. (2564). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี สหวิทยาเขตพุเตย [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรรณภา เย็นมนัส. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 3 [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1. (2565). รายงานผลการดำเนินงานเยี่ยมบ้านนักเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563, 16 ธันวาคม). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่องนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.
โสพิศ ภาชนะ. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรรถพล สุนทรพงษ์. (2565). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัญทิรา วาดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.