การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และศักยภาพในการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เพื่อทดลองใช้ และประเมินปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า (ก) ตำบลท่าขนุน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ การท่องเที่ยว และกีฬาที่หลากหลายได้ (ข) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พัฒนาออกมาได้เป็นตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) โดยมีองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน คือ ภูมี (P-H-U-M-E-E) ได้แก่ P: การมีส่วนร่วม, H: ประวัติศาสตร์, U: อรรถประโยชน์, M: การจัดการ, E: ความสนุกสนาน และ E: ประสบการณ์ (ค) ผลการทดลองใช้ตัวแบบ Tha Kanun Model พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) ในระดับมาก และในทุกมิติ และ (ง) ผลการปรับปรุงตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) ในขั้นตอนสุดท้าย พบว่า ควรมีการขยายผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไปใช้กับพื้นที่อื่น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขอนามัย และความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560–2564). https://nsdf.or.th/7444/
คณิต เขียววิชัย. (2546). การศึกษาปัจจัยคัดสรรทางสังคมเศรษฐกิจที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการชุมชนของประชากรในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตราภรณ์ เถรวัตร และ ธง คำเกิด. (2560). การสร้างรูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 83–99
เทศบาลตำบลท่าขนุน. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน. https://thakanun.go.th/content/general
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2550). การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
นุชรา แสวงสุข. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ สำหรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี. วารสารปัญญาวัฒน์, 13(2), 129-147.
ปฐมพร บำเรอ, สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์ และ อนันต์ มาลารัตน์. (2565). ผลของรูปแบบกิจกรรมนันทนาการประเภทการเต้นรำที่ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 131-147.
ประภัสสร มีน้อย. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาองภูมิภาคตะวันตกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2556). นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์, นภพร ทัศนัยนา และ ประวิทย์ ทองไชย. (2564). รูปแบบการจัดกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 47(1), 287-298.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9513
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2565ก). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกาญจนบุรี. https://ww2.kanchanaburi.go.th/content/general
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2565ข). สถานที่ท่องเที่ยว. https://ww2.kanchanaburi.go.th/travel
สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี. (2564). สารสนเทศตำบลต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. https://kanchanaburi.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/3/2021/01/สารสนเทศตำบล-ต.ท่าขนุน-อ.ทองผาภูมิ.pdf
Best. J. (1981). Research in education (4th ed.). Prentice Hall.
Blackstock, K. (2005). A critical look at community based tourism. Community Development Journal, 40(1), 39–49. https://doi.org/10.1093/cdj/bsi005
Buonincontri, P., Morvillo, A., Okumus, F., & van Niekerk, M. (2017). Managing the experience co-creation process in tourism destinations: Empirical findings from Naples. Tourism Management, 62, 264–277. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2017.04.014
Chon, K.-S., & Olsen, M. D. (1990). Applying the strategic management process in the management of tourism organizations. Tourism Management, 11(3), 206–213. https://doi.org/10.1016/0261-5177(90)90043-9
Hamilton-Smith, E. (1987). Four kinds of tourism? Annals of Tourism Research, 14(3), 332–344. https://doi.org/10.1016/0160-7383(87)90106-X
Hawkins, R. (1998). Sustainable tourism. Routledge.
Higham, J., & Hinch, T. (2002). Tourism, sport and seasons: The challenges and potential of overcoming seasonality in the sport and tourism sectors. Tourism Management, 23(2), 175–185. https://doi.org/10.1016/S0261-5177(01)00046-2
Hinch, T. D., & Higham, J. E. S. (2001). Sport tourism: A framework for research. International Journal of Tourism Research, 3(1), 45–58. https://doi.org/10.1002/1522-1970(200101/02)3:1<45::AID-JTR243>3.0.CO;2-A
Kajanus, M., Kangas, J., & Kurttila, M. (2004). The use of value focused thinking and the A’WOT hybrid method in tourism management. Tourism Management, 25(4), 499–506. https://doi.org/10.1016/S0261-5177(03)00120-1
Koontz, H. (1980). The management theory jungle revisited. Academy of Management Review, 5(2), 175-187. https://doi.org/10.2307/257427
Leiper, N. (1979). The framework of tourism: Towards a definition of tourism, tourist, and the tourist industry. Annals of Tourism Research, 6(4), 390–407. https://doi.org/10.1016/0160-7383(79)90003-3
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (2010). Psychometric theory (3rd ed.). McGraw Hill.
Okazaki, E. (2008). A community-based tourism model: Its conception and use. Journal of Sustainable Tourism, 16(5), 511–529. https://doi.org/10.1080/09669580802159594
Pongponrat, K. (2011). Participatory management process in local tourism development: A case study on fisherman village on Samui Island, Thailand. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 16(1), 57–73. https://doi.org/10.1080/10941665.2011.539391
Ritchie, B. (2008). Tourism disaster planning and management: From response and recovery to reduction and readiness. Current Issues in Tourism, 11(4), 315–348. https://doi.org/10.1080/13683500802140372
Tosun, C. (2000). Limits to community participation in the tourism development process in developing countries. Tourism Management, 21(6), 613–633. https://doi.org/10.1016/S0261-5177(00)00009-1
Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163–171. https://doi.org/10.1207/S15327574IJT0302_5
Waligo, V. M., Clarke, J., & Hawkins, R. (2013). Implementing sustainable tourism: A multi-stakeholder involvement management framework. Tourism Management, 36, 342–353. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2012.10.008