ทัศนคติของครูและบุคลากรโรงเรียนเซนต์เมรี่ ที่มีต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19

Main Article Content

มนพันธ์ ชาญศิลป์
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของครูและบุคลากรโรงเรียนเซนต์เมรี่ จังหวัดอุดรธานี ที่มีต่อรูปแบบการทำงานที่บ้านในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่จะเอื้อต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้รูปแบบการทำงานที่บ้านของโรงเรียนเซนต์เมรี่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเซนต์เมรี่ จำนวน 114 คน คำนวณขนาดตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgan และได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 89 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.66 เห็นด้วยกับการนำระบบการทำงานที่บ้านมาปรับใช้เป็นนโยบายหรือข้อบังคับของโรงเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การทำงานที่บ้านก่อให้เกิดประโยชน์ได้แก่ ประหยัดเวลาในการเดินทาง สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมองว่า การทำงานที่บ้านอาจก่อให้เกิดอุปสรรคและความยากลำบาก ได้แก่ การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานลดลง การประสานงานระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ยากมากยิ่งขึ้น เกิดความรู้สึกเหงาจากการไม่ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน และเกิดความเครียดและกังวลจากการทำงาน ด้านปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้รูปแบบการทำงานที่บ้านของโรงเรียนเซนต์เมรี่ ได้แก่ ด้านความพร้อมของที่บ้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของโรงเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานที่บ้าน และด้านนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และ บุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 16-34.

เครือมาศ ชาวไร่เงิน และ ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ พิบูลแถว. (2566). สมดุลชีวิตกับการทำงาน จากการทำงานในรูปแบบการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 250-279.

ดิษรินทร์ ไทยประกอบ, เกษม สวัสดี และ พูนศักดิ์ แสงสันต์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(3), 48-65.

บุรินทรวรวิทย์ พ่วนอุ๋ย, อนุชิต บูรณพันธ์ และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 227-244.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 14-33.

มนธิชา ทองหัตถา. (2564). ภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโตโรนา 2019 (COVID 19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 43-52.

โรงเรียนเซนต์เมรี่. (ม.ป.ป.). ประวัติโรงเรียน. http://www.st-mary.ac.th/history.html

วรรณา วิจิตร, เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล และ ณัฐพล ฉายศิริ. (2564). รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 8(1), 30-42.

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 200-213

เสาวรัจ รัตนคำฟู และ เมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/

Beckel, J. L. O., Kunz, J. J., Prasad, J. J., Finch, H. M., & Kaldahl, K. N. (2023). The impact of telework on conflict between work and family: A meta-analytic investigation. Occupational Health Science, 7(4), 681–706. https://doi.org/10.1007/s41542-023-00158-8

Campo, A. M. D. V., Avolio, B., & Carlier, S. I. (2021). The relationship between telework, job performance, work–life balance and family supportive supervisor behaviors in the context of COVID-19. Global Business Review, 097215092110499. https://doi.org/10.1177/09721509211049918

Gajendran, R. S., & Harrison, D. A. (2007). The good, the bad, and the unknown about telecommuting: Meta-analysis of psychological mediators and individual consequences. Journal of Applied Psychology, 92(6), 1524–1541. https://doi.org/10.1037/0021-9010.92.6.1524

Hackney, A., Yung, M., Somasundram, K. G., Nowrouzi-Kia, B., Oakman, J., & Yazdani, A. (2022). Working in the digital economy: A systematic review of the impact of work from home arrangements on personal and organizational performance and productivity. PLOS ONE, 17(10), e0274728. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0274728

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Lunde, L.-K., Fløvik, L., Christensen, J. O., Johannessen, H. A., Finne, L. B., Jørgensen, I. L., Mohr, B., & Vleeshouwers, J. (2022). The relationship between telework from home and employee health: A systematic review. BMC Public Health, 22(1), 47. https://doi.org/10.1186/s12889-021-12481-2

Martin, B. H., & MacDonnell, R. (2012). Is telework effective for organizations? A meta-analysis of empirical research on perceptions of telework and organizational outcomes. Management Research Review, 35(7), 602–616. https://doi.org/10.1108/01409171211238820

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.

Park, S., & Jae, M. M. (2022). Determinants of teleworkers’ job performance in the pre-COVID-19 period: Testing the mediation effect of the organizational impact of telework. Journal of General Management, 030630702211165. https://doi.org/10.1177/03063070221116510

Pearce, J. A. (2009). Successful corporate telecommuting with technology considerations for late adopters. Organizational Dynamics, 38(1), 16-25.

Taser, D., Aydin, E., Torgaloz, A. O., & Rofcanin, Y. (2022). An examination of remote e-working and flow experience: The role of technostress and loneliness. Computers in Human Behavior, 127, 107020. https://doi.org/10.1016/j.chb.2021.107020

Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163–171. https://doi.org/10.1207/S15327574IJT0302_5

Weinert, C., & Weitzel, T. (2023). Teleworking in the Covid-19 pandemic: The effects of life-work conflict on job outcomes and the role of the IT telework environment. Business & Information Systems Engineering, 65(3), 309–328. https://doi.org/10.1007/s12599-023-00800-3