แนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

สราวุธ แพพวก
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric 2) ปัญหาและอุปสรรค ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล 3) ปัจจัยความสำเร็จ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 ราย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric ครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินการด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2) การดำเนินการด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การดำเนินการด้านการจัดการของเสีย 4) การดำเนินการด้านการจัดการน้ำ 5) การดำเนินการด้านการขนส่ง และ 6) การดำเนินการด้านการศึกษาและวิจัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ 1) การสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 3) การจัดเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลาย 4) ขาดการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินการ และ 5) การสร้างความผูกพันกับชุมชน ด้านปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน 2) การมีส่วนร่วมของทุกคน 3) การสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล 4) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ และ 5) การสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น ในตอนท้ายผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์และพัฒนาตัวแบบ U-GREEN เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). SDGs operation. https://op.mahidol.ac.th/pe/2021/9729/

กิติกร จามรดุสิต. (2558). นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco university). กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). มหาวิทยาลัยสีเขียว อีกหนึ่งความห่วงใยใส่ใจสังคม. http://www.kriengsak.com/node/1281

งานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). คู่มือเกณฑ์การประเมิน MU GREEN RANKING. https://op.mahidol.ac.th/pe wp-content/uploads/2020/03/เกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัด-MU-Green-Rankings.pdf

ธวัชชัย บัวขาว และ มนสิชา เพชรานนท์. (2555). การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 14(1), 41–55.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) (10th ed.). มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2555). Green campus. https://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue3/covers/cover1.html

โมทนา สิทธิพิทักษ์, สิริฉันท์ สถิรกุล และ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), 1-10.

อิสรี รอดทัศนา. (2558). มหาวิทยาลัยสีเขียว Green University: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยคอนเนคทิคัต. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 18(36), 171-188.

Amaral, L. P., Martins, N., & Gouveia, J. B. (2015). Quest for a sustainable university: A review. International Journal of Sustainability in Higher Education, 16(2), 155–172. https://doi.org/10.1108/IJSHE-02-2013-0017

Barbier, E. B. (1987). The concept of sustainable economic development. Environmental Conservation, 14(2), 101–110. https://www.jstor.org/stable/44519759

Brandli, L. L., Salvia, A. L., Da Rocha, V. T., Mazutti, J., & Reginatto, G. (2020). The role of green areas in university campuses: Contribution to SDG 4 and SDG 15. In W. Leal Filho, A. L. Salvia, R. W. Pretorius, L. L. Brandli, E. Manolas, F. Alves, U. Azeiteiro, J. Rogers, C. Shiel, & A. Do Paco (Eds.), Universities as living labs for sustainable development (pp. 47–68). Springer International Publishing. https://doi.org/10.1007/978-3-030-15604-6_4

Brundtland, G. H. (1987). Our common future--Brundtland report. Oxford University Press.

Corson, W. H. (1990). The global ecology handbook. Beacon Press.

Cortese, A. D. (2003). The critical role of higher education in creating a sustainable future. Planning for Higher Education, 31(3), 15-22.

Finlay, J., & Massey, J. (2012). Eco-campus: Applying the ecocity model to develop green university and college campuses. International Journal of Sustainability in Higher Education, 13(2), 150–165. https://doi.org/10.1108/14676371211211836

Jorge, M. L., & Peña, F. J. A. (2017). Analyzing the literature on university social responsibility: A review of selected higher education journals. Higher Education Quarterly, 71(4), 302–319. https://doi.org/10.1111/hequ.12122

Orr, D. W. (1994). The coming biophilia revolution. Earth Island Journal, 9(2), 38–40.

Suwartha, N., & Sari, R. F. (2013). Evaluating UI GreenMetric as a tool to support green universities development: Assessment of the year 2011 ranking. Journal of Cleaner Production, 61, 46–53. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2013.02.034

Universitas Indonesia. (2017). Guideline UI GreenMetric World University Ranking 2017. https://greenmetric.ui.ac.id/publications/guidelines/2017/thai

Universitas Indonesia. (2023). Guideline UI GreenMetric World University Ranking 2023. https://greenmetric.ui.ac.id/publications/guidelines/2023/english