การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาอาชีพเฉพาะอย่างสำหรับทหาร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการสอนของครูในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น: กรณีศึกษาโรงเรียนสารบรรณ กรมสารบรรณทหารเรือ

Main Article Content

สุธิญา พูนเอียด
มนิษา วัฒนชัย
ชุลีรัตน์ บัวรอด
เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสารบรรณ กรมสารบรรณทหารเรือ และพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสารบรรณ กรมสารบรรณทหารเรือ ด้วยแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสารบรรณ กรมสารบรรณทหารเรือ และการศึกษางานวิจัยและตรวจสอบคำนิยามและองค์ประกอบของความสามารถในการสอนของครูจากผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 2 การสร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนของครู การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยสรุปได้ว่า 1) ปัญหาของการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน แบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ 1.1) ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน และ 1.2) ปัญหาด้านงานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน สิ่งที่สำคัญคือ ครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนจำกัด และไม่ได้ปรับตัวให้ทันต่อบริบทต่าง ๆ เช่น การนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมของแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น อันประกอบไปด้วย 2.1) วัตถุประสงค์ 2.2) หลักการตามแนวคิดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น และ 2.3) องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 ด้าน พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (M = 4.56, SD = 0.56) สะท้อนว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของครูโรงเรียนสารบรรณในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสารบรรณทหารเรือ. (2565). วิสัยทัศน์กรมสารบรรณทหารเรือ. http://www.admin.navy.mi.th/document/about/StrategicPlan2565.pdf

กองทัพเรือ. (2558). แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลกองทัพเรือ พ.ศ.2558-2567. https://www.navy.mi.th/upload/pdf/hr3.pdf

กองทัพเรือ. (2560). แผนแม่บทการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทัพเรือ พ.ศ. 2560 – 2579. https://www.navy.mi.th/upload/pdf/hr2.pdf

คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2562). Digital disruption การเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และ อุดม ตะหน่อง. (2563). ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2), 2-15.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. (2559). หลักการและแนวคิดการจัดการเรียนรู้. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประภารัตน์ อู่อรุณ และคณะ. (2561). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามการรับรู้ของของผู้ปกครองนักเรียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(1), 475-486.

พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงใน ยุค Digital Disruption ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 1-6.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526. (2548, 23 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 99 ง. 1-31.

รัชนี วงศ์สุมิตร. (2547). หลักการประชาสัมพันธ์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัฐนันท์ รถทอง. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาออนไลน์ของโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 65-76.

รัตนา จันทร์รวม. (2560). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/59583/1/5784487927.pdf

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การออกแบบการเรียนรู้ ใน New normal. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีซานา อับดุลเลาะ และ วุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 227-246

สำนักเลขาธิการครุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีทีซีเอฟ). สำนักเลขาธิการครุสภา.

สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ. (2560). การศึกษาพัฒนาการหลักสูตรประเภทวิชาธุรกิจ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 14-19.

อมรรัตน์ จินดา และ เอกนฤน บางท่าไม้. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(1), 395-407.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 1379-1395.

Bailey, J., Martin, N., Schneider, C., Vander Ark, T., Duty, L., Ellis, S., & Terman, A. (2013). Blended learning implementation guide 2.0. https://www.digitallearningnow.com/wp-content/uploads/2013/10/BLIG-2.0-Final-Paper.pdf

Cornell Center for Teaching Excellent. (2016). Active learning. https://www.cte.cornell.edu/teaching-ideas/engaging-students/active-learning.html.

Diepreye, F. F., & Odukoya, J. A. (2019). The impact of passive and active teaching methods on students’ learning among secondary school students in Yenagoa, Bayelsa State. Journal of Physics: Conference Series, 1378(2). https://10.1088/1742-6596/1378/2/022099

Digital Technologies Hub. (2023). TPACK model. https://www.digitaltechnologieshub.edu.au/understanding-dt/professional-learning/tpack-model/

Eison, J. (2010). Using active learning instructional strategies to create excitement and enhance learning. https://www.economia.unicampania.it/images/didattica/FIT/1_strategie_di_active_learning_Izzo.pdf

Mishra, P., & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108, 1017-1054.

Saliba, G., Rankine, L., & Cortez, H. (2013). Fundamentals of blended learning. https://www.westernsydney.edu.au/__data/assets/pdf_file/0004/467095/Fundamentals_of_Blended_Learning.pdf

Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2) 4-14.