แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ: กรณีศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

วาสินี มีวัฒนะ
วราภรณ์ รุจิระวาณิชย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยได้นำรายการลูกหนี้เงินยืมคงค้าง-การให้บริการวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบประมาณ 2563-2565 มาเป็นกรณีศึกษา และได้นำแผนผังก้างปลามาใช้วิเคราะห์ข้อมูล บทความนี้พบว่า สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมฯ ประกอบไปด้วย 4 สาเหตุหลัก คือ บุคลากร วิธีการทำงาน ข้อบังคับฯ/หลักเกณฑ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน จากนั้นได้นำแนวคิด PDCA มาเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาทิ การติดตามลูกหนี้เงินยืม จะทำการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ SMS หรือ แอปพลิเคชัน Line เมื่อครบกำหนดระยะเวลา การจัดทำระบบติดตามและชำระทวงหนี้ที่เป็นระบบ รวมถึงแจ้งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการส่งใช้ลูกหนี้เงินยืมให้ผู้ปฏิบัติงานทราบอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). รายงานประจำปี 2565 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://drive.google.com/file/d/1AzS0N2Sih0TWksMPv_JxH1j3TBeZ3pN4/view

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Ishikawa, K. (1968). Guide to quality control. JUSE.

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ พ.ศ. 2561.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (2561, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 231ง. หน้า 9.

ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยืมเงิน พ.ศ.2551.