การประเมินหลักสูตรและความพึงพอใจต่อหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย CIPP Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ใน 4 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่าที่เข้าอบรมหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คน ประกอบด้วยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ นักเรียนอบรมปัจจุบัน และศิษย์เก่า เก็บข้อมูลโดยส่งลิงค์การประเมินบน Google Form ผ่านอีเมล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติ One-sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้ กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 3.51 ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการประเมินหลักสูตรฯ โดยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ นักเรียนอบรมปัจจุบัน และศิษย์เก่า ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก การทดสอบสถิติโดยใช้ One-sample t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความพึงพอใจของนักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ วิทยากร และครูฝึก ส่วนด้านที่มีคะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านความเหมาะสมของสถานที่จัดการฝึกอบรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กาญจนา วัธนสุนทร. (2551). การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการทางการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 2 (1). 67-83.
จักรกฤษณ์ โปณะทอง, อรรณพ โพธิสุข, อัจฉรา วัฒนาณรงค์, และจตุพล ยงศร. (2557). การประเมินหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2549 (ปรับปรุง พ.ศ. 2551) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. BU Academic Review, 13(2), 81-94.
ชฎาวัลย์ รุณเลิศ. (2552). การประเมินผลหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไปของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก).
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา, และพรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: รูปแบบ CIPPIEST. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9 (2). 203-212.
นฤมล ศรีตองอ่อน. (2560). ความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 59(1), 1-11.
นิจวรรณ วีรวัฒโนดม, จารุณี จาดพุ่ม, นฤมล จันทร์สุข, และเพ็ญศรี รอดพรหม. (2561). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ปีการศึกษา 2558. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13, 37-48.
ฝ่ายเทคโนโลยี สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ. (2562ก). สถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ. http://www.iftr.forensic.police.go.th/iftr/html/iftr.php.
ฝ่ายเทคโนโลยี สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ. (2562ข). หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร. https://www.iftr.forensic.police.go.th/law/
อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วารสารวิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.
Dizon, A. G. (2023). Historical development of CIPP as a curriculum evaluation model. History of Education, 52(1), 109–128. https://doi.org/10.1080/0046760X.2022.2098390
Luandee, S., Suebpongsiri, S., & Rakangthong, C. (2018). Trends of using forensic evidence for judge’s consideration of Court in Thailand. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 18(3), 683–694. https://doi.org/10.14456/hasss.2018.30
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.
Stufflebeam, D. L. (1971). The relevance of the CIPP Evaluation Model for educational accountability. Journal of Research and Development in Education, 5, 19-25.
Stufflebeam D. L., & Shinkfield A. J. (2007). Evaluation theory, models, and applications (2nd ed.). Jossey-Bass.
Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163–171. https://doi.org/10.1207/S15327574IJT0302_5