ความต้องการจำเป็นทางด้านสมรรถนะดิจิทัลในช่วงเวลาวิกฤติของผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก

Main Article Content

ประเสริฐไชย สุขสอาด
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก  ทั้งสภาพทักษะปัจจุบัน และทักษะที่คาดหวัง โดยใช้แบบสอบถามที่มีจำนวนความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัล 25 ข้อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ผลรวม ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ “ที” (t-test) รวมถึงการคำนวณหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Need Index: PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัลผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก สามารถจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการเข้าใจดิจิทัล และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบสภาพทักษะที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน และสภาพทักษะที่คาดหวัง ด้วยค่าสถิติ “ที” พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริหารและครูพลศึกษาปฏิบัติหน้าที่ได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ในชีวิตวิถีถัดไป และเท่าทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา สู่การเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาและการศึกษาบนโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรณัฏฐ์ ฐิตากรพงศ์สถิต, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และ วัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครู เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชต์ภาคย์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(47), 189-206. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/download/256722/175324

ประภวิษณุ์ เจียร์สุคนธ์, ศุภกร ศรเพชร และ ชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2565). สภาพความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชตภาคย์, 16(48), 90-104. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/ article/download/257331/176049/989209

วราลี ถนอมชาติ และ นภัส ศรีเจริญประมง. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาราชภัฏรำไพพรรณี.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2561). สมรรถนะ. https://tpqi.go.th/downloadNw.php?WP=rUqjoz1Cq5OZhJ3tM0E0FJyerPMjBJ0mq09ZxT25Mo7o2OO0ETyWrTDo7o3Q

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. (2564/8 มีนาคม). ผู้บริหารสถานศึกษา. http://www.sesaok.go.th/index.php/about/2021-03-08-08-45-38

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. (2565). ข้อมูลในสังกัด สพม.นครปฐม. https://www. mathayom-npt.go.th/

สุวิมล ว่องวาณิช (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณี อรุณเรือง และ ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2003). Research in education (9th ed.). Allyn and Bacon.

Brush, T., Glazewski, K.D. & Hew, K.F. (2008). Development of an instrument to measure preservice teachers’ technology skills, technology beliefs, and technology barriers. Computers in the Schools, 25(1-2), 112-125. https://doi.org/10.1080/07380560802157972

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha? An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

European Commission. (2008). Digital literary review. https://www.ifap.ru/library/book386.pdf

Glister, P. (1997). Digital Literacy. John Wiley & Sons Inc.

Jiamthong, K. (2018). Skills of school administrators under secondary educational service area office 32 in the 21st century [Master’s Thesis]. Rajabhat Maha Sarakham University.

Khempanya, C. (2019). situations and guidelines for developing the usage of digital technology for education of schools under the secondary educational service area office 22. [Master’s Thesis]. Nakhon Phanom University.

Koc, M. & Bakir, N. (2010). A needs assessment survey to investigate pre-service teachers’ knowledge, experiences and perceptions about preparation to using educational tecgnology. The Turkish Online Journal of Educational Technology, 9(1), 13-22.

McCaslin, N. L., & Tibezinnda, J. P. (2014). Assessing target group needs. http://www.fao.org/docrep/w5830E/w5830e07.htm

Secretariat Office of the Teachers Council of Thailand. (2021). Thai Teachers’ Digital Literacy During the New Normal. In Book Teacher’s Day, January 16, 2021. https://www.ksp.or.th/ksp2018/wp-content/uploads/2021/01/Teacher_Book.pdf