การประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ พื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาไมซ์ซิตี้ระดับพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินไมซ์ซิตี้ ของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จำนวนทั้งหมด 8 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ความสะดวกในการเข้าสู่เมืองและสถานที่จัดงาน 2) การสนับสนุนการจัดงานไมซ์จากในเมือง 3) กิจกรรมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการประชุม 4) ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) สถานที่จัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวก 6) ภาพลักษณ์และความมีชื่อเสียงของเมือง 7) สภาพแวดล้อมของเมือง และ 8) ความเสี่ยงในการยกเลิกงานและการรักษาความปลอดภัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองของจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น พบว่า ค่าความสอดคล้องกันของเหตุผลของตัวแปรทั้ง 8 ตัวมีค่าไม่เกินร้อยละ 10 ต่อมา ผลการให้ค่าคะแนนของตัวแปร (Rating) และค่าน้ำหนักของตัวแปร (Weighting) ในการประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ พบว่า ความสะดวกในการเข้าสู่เมืองและสถานที่จัดงาน เป็นตัวแปรที่มีผลการคำนวณระดับคะแนนของตัวแปรมากที่สุด อยู่ในระดับศักยภาพการพัฒนามาก การวิจัยนี้ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของการจัดประชุม การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดประชุมให้แก่บุคลากรในพื้นที่ การเพิ่มจำนวนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกบริเวณแหล่งที่ตั้งการจัดประชุม และการพัฒนาแอปพลิเคชันในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานไมซ์ซิตี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กีรติ พลเพชร. (2551). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรพร จันลา. (2556). แนวทางการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2554). ธุรกิจไมซ์ (MICE BUSINESS). เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ภัคจิรา แสนใจ และ สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ (MICE) ในจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน). (2561). กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น. https://www.dti.or.th/download/150319174753_3ahp4.pdf
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2557). การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์อนาคตไทย วิสัยทัศน์สู่ AEC โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมไมซ์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ฉบับประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/2023-03_e4011bba3ea5719.pdf
สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2557). โครงการจัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางในการพัฒนาไมซ์ซิตี้. http://123.242.173.4/rayong_eoffice/application/agenda/download.php?path=attach_file/agenda/%203su5rhd41q.pdf&filename=%BA%B7%CA%C3%D8%BB%BC%D9%E9%BA%C3%D4%CB%D2%C3%E2%A4%C3%A7%A1%D2%C3%CF.pdf
สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2565). 10 เมืองไมซ์ในประเทศไทย. https://www.thaimiceoss.com/mice-cities/
สุรัชสานุ์ ทองมี และคณะ. (2566). การพัฒนาโมเดลการตลาดเมืองไมซซิตี้สู่ความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองไมซ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 29(1), 17-34.
Bauer, T. G., Lambert, J., & Hutchison, J. (2001). Government intervention in the Australasian Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions Industry (MICE). Journal of Convention & Exhibition Management, 3(1), 65–87. https://doi.org/10.1300/J143v03n01_05
Campiranon, K., & Arcodia, C. (2008). Market segmentation in time of Crisis: A case study of the MICE sector in Thailand. Journal of Travel & Tourism Marketing, 23(2–4), 151–161. https://doi.org/10.1300/J073v23n02_12
Fakfare, P., Lee, J.-S., & Han, H. (2022). Thailand tourism: A systematic review. Journal of Travel & Tourism Marketing, 39(2), 188–214. https://doi.org/10.1080/10548408.2022.2061674
Saaty, R. W. (1987). The analytic hierarchy process—What it is and how it is used. Mathematical Modelling, 9(3–5), 161–176. https://doi.org/10.1016/0270-0255(87)90473-8
Wonglakorn, N., Chantaratang, A., Suksiripattanapong, C., Na Sritha, K., Aunphoklang, W., Ninjinda, N., & Keerakittisakul, W. (2023). The development of service metrics indicators of a public transportation service case study: Intercity trains in Nakhon Ratchasima province, Thailand. Sustainability, 15(15), 11739. https://doi.org/10.3390/su151511739