กลไกการปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา: กรณีศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ณภาส์ณัฐ คงคารัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ภายใต้กรอบแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิเทศสัมพันธ์และความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า กลไกการปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา มีทั้งหมด 7 กลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านวิเทศสัมพันธ์ของคณะฯ 2) การพัฒนาระบบสนับสนุนงานวิเทศสัมพันธ์ที่สำคัญ 3) การพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ 4) การทำวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 5) การเชื่อมต่อใหม่กับมหาวิทยาลัยพันธมิตรเดิมที่ขาดการติดต่อในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาระบาดอย่างหนัก และสร้างเครือข่ายใหม่กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีหลักสูตรสาขาวิชาใกล้เคียงกัน 6) ยกระดับงานบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ และ 7) การสร้างอัตลักษณ์ของคณะฯ ที่เหมาะสม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทั้งนี้กลไกการปฏิบัติงานที่ดีนั้นควรมีระบบประเมินและตรวจสอบการดำเนินการของงานได้ด้วย



องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ แนวทางการทำงานด้านวิเทศสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะแบบ Onsite เท่านั้น การทำงานภายใต้รูปแบบ Hybrid (Online และ Onsite) จะช่วยสร้างความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพ มีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ เช่น การนำเอาโปรแกรมการประชุมออนไลน์ระบบ Zoom Cloud Meetings หรือ Cisco WebEx Meetings มาใช้กับงานเจรจาความร่วมมือและการจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. (2565). About MUSH. https://sh.mahidol.ac.th

นรา สุภัคโรจน์. (2558). การเปลี่ยนแปลง. สำนักพิมพ์ปราณ

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 20 ปี. https://op.mahidol.ac.th/pl/mahidol_university_strategic_plan_2018-2037

มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบร์ท). (2552). ลับคมคนวิเทศ. https://rgj.trf.or.th/main/additional-grant/fulbright-th/

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2553). เมื่อโลกไม่ใช่ใบเดิม. สำนักพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลวินเทจ.

วัฒนา คุณประดิษฐ์. (2557). วาทกรรมการพัฒนาการศึกษากับการสร้างความเป็นอื่น. http://www.multied.org/UpdateNews/Proposal%20Ph.D/วัฒนา.pdf

De Wit, H., Hunter, F., Howard, L., & Egron-Polak, E. (2015). Internationalization of higher education. https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/STUD/2015/540370/IPOL_STU(2015)540370_EN.pdf

Hudzik, J. K. (2011) Comprehensive internationalization: From Concept to action. NAFSA.

Knight, J. (2004). Updating the definition of Internationalization. International Higher Education, 33, 2–3. https://doi.org/10.6017/ihe.2003.33.7391

Rumbley, L. E. (2015). Intelligent Internationalization: A 21st Century Imperative. International Higher Education, 80, 16-17. https://doi.org/10.6017/ihe.2015.80.6146