การศึกษาคุณลักษณะของครูบาเจ้าศรีวิชัยในฐานะต้นแบบพลเมืองโลกด้านจริยธรรมและคุณธรรม

Main Article Content

ภักดีกุล รัตนา
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเป็นต้นแบบพลเมืองโลกด้านจริยธรรมและคุณธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัยผ่านกรอบแนวคิดคุณลักษณ์ศึกษาและแนวคิดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ตำนาน คติชาวบ้าน และเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องคือ แนวคิดคุณลักษณ์ศึกษาและแนวคิดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เครื่องมือการวิจัยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบการสืบสอบและวิพากษ์ข้อมูล เพื่อสืบค้นบริบทที่ส่งผลต่อความเป็นต้นแบบพลเมืองโลกด้านคุณลักษณะเชิงจริยธรรมและคุณธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบแนวคิดคุณลักษณ์ศึกษาและแนวคิดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ และนำเสนอในรูปแบบการพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยมีคุณลักษณะเชิงคุณธรรมจากการเป็นผู้มีความรู้และรู้คิดต่อลักษณะคุณงามความดี รวมถึงมีอุปนิสัยติดตัวอันดีงามที่สั่งสมจากการปฏิบัติคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่องและยาวนานตลอดชีวิต ส่วนคุณลักษณะเชิงจริยธรรมครูบาเจ้าศรีวิชัยยึดถือหลักแห่งการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามหลักคำสอนของศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อประโยชน์สุขของทั้งตนเองและส่วนรวม นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตามแนวคิดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการพบว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยมีคุณลักษณะเชิงจริยธรรมและคุณธรรมอย่างเด่นชัด ด้านคุณธรรมนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นผู้มีคุณงามความดีและนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การมีคุณลักษณะด้านความเชื่อถือได้ การเคารพ การเอื้ออาทร และความเป็นพลเมือง และด้านจริยธรรมครูบาเจ้าศรีวิชัยมีวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามหลักศีลธรรมจนเป็นยอมรับของสังคม เช่น คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ และความเป็นธรรม โดยสรุปแล้ว ครูบาเจ้าศรีวิชัยมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการเป็นต้นแบบความเป็นพลเมืองโลก และเป็นแบบอย่างในการเสริมสร้างคุณลักษณะเชิงจริยธรรมและคุณธรรมแก่คนไทย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส โฆษณานันท์. (2549). ตามรอยพระครูเจ้าศรีวิชัยและพระครูบาขาวปี นักบุญแห่งล้านนา. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีเดีย เพรส.

จิรชาติ สันต๊ะยศ. (2552). “ครูบาศรีวิชัย” กับคตินิยมแบบ “ครูบา” (ใหม่) ช่วงทศวรรษ 2530-2550. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 31(4), 80-95.

จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. (2548). จริยศาสตร์: ทฤษฎีจริยธรรมสำหรับนักบริหารการศึกษา. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ. (2540). การศึกษาวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย พ.ศ. 2447-2481. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชิเกฮารุ ทานาเบ. (2555). พิธีกรรมและปฏิบัติการในสังคมชาวนาภาคเหนือของประเทศไทย. ขวัญชีวัน บัวแดง และ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล (บรรณาธิการ). ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูสิทธิ ชูชาติ. (2535). แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องครูบาในล้านนา. วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา

ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว. (2559). การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย พุทธทศวรรษ 2530-2550. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2561). พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร

มหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการพัฒนาการศึกษา. https://edu.chula.ac.th/sites/default/files/2019-07/บรรยายครุศาสตร์จุฬา.pdf

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2557). ประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกจำ “ครูบาศรีวิชัยกับการปกครองรวมศูนย์ของกรุงเทพฯ”. https://www.tcijthai.com/.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2561). รำลึก 140 ปี ชาตกาล ครูบาศรีวิชัย (พ.ศ.2541-2561). ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปทั้งโรงเรียน. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพร วรรณลังกา และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาจริยธรรมพลเมืองโลก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(ฉบับเพิ่มเติม), 203-215.

ประวัติ พื้นผาสุก. (2549). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระครูปลัดพรหมเรศ โชติวโร และคณะ. (2560). บทบาทความเชื่อมโยงภูมิภาคของพระมหาเถระในล้านนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.

พระเทวินทร์ เทวินโท. (2544). พุทธจริยศาสตร์. สหมิตรพริ้นติ้ง.

พระนฤพันธ์ ญาณิสฺสโร. (2562). วิถีครูบากับการพัฒนาสังคม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 19-28.

พระพิชัย ปิยสีโล. (2561). การสร้างพลังชุมชนของครูบาศรีวิชัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90.

พระมหาช่วง ภูริวัฑฒโน. (2556). เรื่องจริงอันศักดิ์สิทธิ์ เกิดนิมิตปาฏิหาริย์ เล่ม 7: ปาฏิหาริย์ครูบาศรีวิชัย. ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พิสิษฏ์ นาสี. (2561). “ครูบาสมัยใหม่” คุณค่าแบบล้านนา สู่ผู้เชื่อถือศรัทธาในระดับสากล. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 49-86.

พีระนันท์ นันทขว้าง. (2544). การศึกษารูปแบบโบสถ์และวิหารในเขตภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ยุคฟื้นฟู อาณาจักรล้านนาถึงยุคครูบาศรีวิชัย พ.ศ.2339-2481. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เพ็ญสุภา สุขคตะ. (2562). “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อองค์การยูเนสโก. วารสาร มจร.

หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(2), 106-118.

ไพรินทร์ ณ วันนา. (2560). การศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติอารยธรรมวิถีของสี่ครูบาในจังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 6(2), 19-27.

ภักดีกุล รัตนา. (2563). การศึกษา “คุณลักษณะ” ของผู้หญิงล้านนาตามแนวคิดคุณลักษณศึกษา. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 14(2), 1-15.

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม. (2558). ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนา ศรีหริภุญชัย. โรงพิมพ์นันทพันธ์.

มนวัธน์ พรหมรัตน์. (2560). ขบวนการครูบาศรีวิไชย: เงินตรา บุญบารมี บนความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของล้านนา. มนุษยศาสตร์สาร, 18(2), 84-103.

มูลนิธิสถาบันครูบาศรีวิชัย. (2560). ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย. หจก.วนิดาการพิมพ์.

รณวีร์ พาผล. (2556). รายงานวิจัยการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของเยาวชนในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. โรงพิมพ์ทองกวาว.

วศิน อินทสระ. (2544). จริยศาสตร์ศาสตร์ที่ว่าด้วยคุณความดีและศิลปะในการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัท สํานักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จํากัด.

ศิวะ รณชิต. (2521). พระของประชาชน. ปิยสาน์น.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2559).ข้อวินิจฉัยประวัติครูบาศรีวิชัย. กลุ่มพุทธมาลัย.

สง่า สุภาภา. (2499). ชีวิตและงานของครูบาศรีวิชัย. คลังวิทยา.

สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สมบูรณ์ ติ๊บเตปิน และคณะ. (2549). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนวัดบ้านปาง ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สมหมาย เปรมจิตต์ (บ.ก.). (2537). ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดารและตำนานวัดสวนดอก. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมหมาย เปรมจิตต์. (2543). ประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา. โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

สมาคมชาวลำพูน. (2561). ครูบาเจ้าศรีวิชัย: สิริชีวประวัติ วัตรปฏิบัติ หลักธรรมคำสอน และมงคลบารมี. สมาคมชาวลำพูน.

สามารถ บุญรัตน์. (2561). อารยธรรมวิถี 4 ครูบา: แนวคิดและกระบวนการพัฒนาสังคมในจังหวัดลำพูน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 269-281.

สายธาร ศรัทธาธรรม. (2549). ครูบาศรีวิชัย ผู้ใจเด็ด นักบุญแห่งลานนาไทย. บ้านลานธรรม.

สิงฆะ วรรณสัย. (2522). สารประวัติครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งลานนาไทย. ศูนย์หนังสือเชียงใหม่,

สุวพันธุ์ จันทรวรชาต และศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). อิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ในงานบูรณปฏิสังขรณ์วิหารของครูบาศรีวิชัย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 17-24.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). รายงานการวิจัยโครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

โสภา ชานะมูล. (2534). ครูบาศรีวิชัย “ตนบุญ” แห่งล้านนา (พ.ศ.2421-2481). [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หิรัญ สุพาสนาภิวัฒน์. (2506). ประวัติครูบาศรีวิชัย: นักบุญแห่งลานนาไทย. สงวนการพิมพ์.

อาภากร ปัญโญ และคณะ (2561). ธรรมยาตรา เยือนถิ่นครูบาเมืองลี้: แนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสักการะครูบาในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารปรัชญาและศาสนา, 3(2), 52-74.

Bass, B. M. (1990). From transactional to transformational leadership: Learning to share the vision. Organizational Dynamics, 18, 19-31. http://dx.doi.org/10.1016/0090-2616(90)90061-S.

Bowie, K. A. (2014). Of Buddhism and Militarism in Northern Thailand: Solving the puzzle of the Saint Khruubaa Srivichai. The Journal of Asian Studies, 73(3), 711-732.

Character Counts. (2020). The six pillars of character. www.charactercounts.org

Cohen, P. (2001). Buddhism unshackled: The Yuan “Holy Man” tradition and the nation-state in the Tai world. Journal of Southeast Asian Studies, 32(2), 176-203.

Department for International Development. (2005). Developing the global dimension in the school curriculum. https://dera.ioe.ac.uk/id/eprint/6152/7/globald_Redacted.pdf

Josephson, M. J. (2002). Making ethical decisions. Josephson Institute of Ethics.

Kniep, W. M. (1986). Social studies within a global education. Social Education, 50(7), 536-542. https://eric.ed.gov/?id=EJ340612

Lickona, T. (1991). Educating for character: How our schools can teach respect and responsibility. Bantam Books.

Novak, M. (1986). Character and crime: An inquiry into the causes of the virtue of nations. University Press of America.

Nucci, L., & Narvaez, D. (2008). Handbook on moral and character education. Routledge.

Obama, B. (2008). Remarks by President Obama at the Brandenburg Gate -- Berlin, Germany. https://obamawhitehouse.archives.gov

Peterson, C. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford University Press.

UNESCO. (2023). Global citizenship education. https://en.unesco.org/themes/gced.

Vivekananda, S. (2013). Education for character. Ramakrishna Math.

www.greenvaleschool.org. (2023). Six Pillars of Character.

www.maysville.k12.oh.us. (2023). The Six Pillars of Character.

www.stgabriels.co.uk. (2023). Six Pillars of Character.