การจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้งในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน: สภาพปัญหา บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อเสนอแนะ

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย
สิวลี รัตนปัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอสภาพปัญหาของการจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้งในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน รวมถึงศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ในการจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้ง ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน วิธีการศึกษาใช้การทบทวนเอกสารแบบเรียงร้อยถ้อยคำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หากระบวนทัศน์ ผลการศึกษาพบว่า ระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้งในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูนมีปัญหาด้านโครงสร้างของระบบการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาคุณภาพน้ำประปามีการปนเปื้อน และปัญหาการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้าน ในส่วนบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพระบบการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเด็นงานที่ 2.1 การจัดการคุณภาพน้ำประปา (ผลิตโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ทั้งนี้ผู้เขียนจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้งในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การจัดการด้านโครงสร้างของระบบการผลิตน้ำประปาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา การปรับแนวทางการบริหารจัดการระบบน้ำประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำอุปโภค บริโภคในภาวะภัยแล้งบนฐานการมีส่วนร่วมตามแนวทางการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านที่ดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2561). หลักเกณฑ์ และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง. (2564). คุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (EHA) ปี 2564. เอกสารอัดสำเนา.

พงค์นรินทร์ สุริยะโจง, สามารถ ใจเตี้ย, และ สายหยุด มูลเพ็ชร์. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. พิฆเนศวร์สาร,14(1), 17 – 32.

พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม. (2548). โครงการจัดทำเครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำลี้. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

มยุรี โยธาวุธ. (2560). การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เยาวภา บัวเวช. (2554). การพัฒนาระบบบริหารจัดการประปาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. http://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research5533.pdf

สามารถ ใจเตี้ย และกฤษณา ลางคำ. (2562). ผลกระทบสุขภาพสังคมจากภัยแล้งและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการแก้ไขผลกระทบจากภัยแล้ง: กรณีศึกษาลุ่มน้ำกวงตอนบน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(1), 149 -158.

สามารถ ใจเตี้ย และพัฒนา บุญญประภา. (2562). ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากปัญหาคุณภาพน้ำและข้อเสนอแนะกิจกรรมการเฝ้าระวัง กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลําพูน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(1), 32 – 46.

สามารถ ใจเตี้ย และคณะ. (2564). ผลกระทบสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในภาวะภัยแล้ง ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สามารถ ใจเตี้ย และคณะ. (2565). คุณภาพน้ำ และข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้ง:กรณีศึกษา เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(3), 323 – 332.

MacAllister, D. J., MacDonald, A. M., Kebede, S., Godfrey, S., & Calow, R. (2020). Comparative performance of rural water supplies during drought. Nature Communications, 11, 1099. https://doi.org/10.1038/s41467-020-14839-3

Tennessee Department of Environment and Conservation. (2016). Guidance for developing community water system drought management plans. https://www.tn.gov/content/dam/tn/environment/water/documents/droughtmgtplan_guidance.pdf

United Nation. (2021). Water scarcity. https://www.unwater.org/water-facts/water-scarcity

United States Environmental Protection Agency. (2022). Drought resilience and water conservation. https://www.epa.gov/water-research/drought-resilience-and-water-conservation