นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Literature Review) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้เงินบาทดิจิทัลที่อาจจะมาถึงในไม่ช้านี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทดสอบนำร่องการใช้เงินบาทดิจิทัลกับภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 กับสถาบันการเงิน 3 แห่งและกลุ่มตัวอย่าง 10,000 ราย รวมถึงการทดสอบในระดับนวัตกรรมว่าเงินบาทดิจิทัลสามารถทำได้มากกว่าแค่การใช้จ่ายในระดับพื้นฐาน หรือการโอนชำระค่าสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด ยิ่งไปกว่านั้น รัฐในการฐานะผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังก็ได้เตรียมความพร้อม สังเกตได้จากที่ได้มีพัฒนาการการปรับใช้สกุลเงินบาทผ่านระบบการชำระเงินของไทยที่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ระบบพร้อมเพย์ที่เป็นการใช้สกุลเงินผ่านระบบภาคธนาคารของเอกชน หรือการใช้นโยบายการคลังผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังของธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ศึกษาถึงการใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศจีนที่ใช้ชื่อว่า หยวนดิจิทัล เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้กับการดำเนินนโยบายการคลังในบริบทของสังคมไทยหากจะมีการใช้เงินบาทดิจิทัลในอนาคตอันใกล้นี้ หรือแต่ละภาคส่วนควรจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างไร ทั้งนี้ ภาครัฐควรที่จะเตรียมความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ธรรมาภิบาลข้อมูลโดยเฉพาะในด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะเพื่อบริหารและยกระดับการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และการสอดประสานนโยบายการเงินร่วมกับนโยบายการคลัง รวมถึงติดตามสถานการณ์การใช้สกุลเงินดิจิทัลในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมใช้ประโยชน์จากสกุลบาทดิจิทัลในการดำเนินนโยบายการคลังได้ตรงจุด ลดการรั่วไหล มีประสิทธิผลและวัดผลได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ และคณะ. (2565). 50 years: The making of the modern Thai economy. https://media.kkpfg.com/document/2022/Mar/KKP_THE_MAKING_OF_THE_MODERN_THAI_ECONOMY.pdf
กิตตินันท์ นาคทอง. (2565). แอปฯ เป๋าตัง ในวันที่ผู้ใช้ทะยาน 34 ล้านราย. https://mgronline.com/columnist/detail/9650000057542
กระทรวงการคลัง. (2561). การคลังสมัยกรุงสุโขทัยและอยุธยา. https://www.mof.go.th/th/detail/2018-12-21-14-57-33/2018-12-21-16-02-08
คณิสร์ แสงโชติ. (2565). เงิน อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, แผนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชินกฤต อัมพรพรรณวัต และ พิมพ์นารา หิรัญกสิ. (2565). เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง: ความท้าทายใหม่ของธนาคารพาณิชย์. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.
ฐิติมา ชูเชิด และคณะ. (2564). รายงานสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน: นัยต่อนโยบายการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินของไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ณฐกร วิสุทธิโก. (2559). แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 3. https://www.scbeic.com/th/detail/product/2283
ดนุวัศ สาคริก. (2563). เทคโนโลยีการเงินสำหรับผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน, บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ดนุวัศ สาคริก. (2562). นโยบายการคลังในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ไทยรัฐออนไลน์. (2559). เช็คช่วยชาติ VS แจกเงินคนจน เหมือนหรือต่าง? มาตรการรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจ. https://www.thairath.co.th/business/800916
ไทยพับลิก้า. (2564). สำรวจมาตรการเยียวยาโควิดฯ แจกแล้ว 6 แสนล้านบาท. https://thaipublica.org/2021/02/include-money-giveaway-measures-fight-covid-19/
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2564). เงินหยวนดิจิทัลที่เป็นทั้งสกุลเงินและระบบชำระเงิน. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/965039
ธนพล ศรีธัญพงศ์. (2565). หยวนดิจิทัลกับก้าวที่ยิ่งใหญ่ของจีนในการเป็นผู้นำ Central Bank Digital Currency ระดับโลก. https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/digital-yuan-great-step-of-leading-central-bank.html
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). วิวัฒนาการระบบการชำระเงินไทย และ วิวัฒนาการเงินตราไทย. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-6/Payment-Systems-64-6.html
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). นโยบายการเงินคืออะไร? https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Pages/default.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ความคืบหน้าการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail CBDC). https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2022/Pages/n3965.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). วิวัฒนาการเงินตราไทย. https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/know_BMG/Pages/Evolution_Thai_Banknotes.aspx
บุญลาภ ภูสุวรรณ และคณะ. (2556). 15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน. สำนักข่าวไทยพับลิก้า.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เป๋าตัง แอปที่ทุกคนต้องมี มีดีมากกว่าแค่รับเงินเยียวยา. https://www.prachachat.net/finance/news-684466#:~:text=โดย%20เป๋าตัง%20เป็นกระเป๋า,ตุลาคม%20ย้อนหลัง%2010%20ปี
มณฑลี กปิลกาญจน์. (2565). สกุลเงินดิจิทัล: ที่มาและที่ไป. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). สาเหตุและตัวเร่งของวิกฤตเศรษฐกิจ. https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom6/03-01-01.html
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น. (2563). การเงินการธนาคารในยุคดิจิทัล 4.0 และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น. (2563). บทบาทของธนาคารกลางในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และผลกระทบของ Central Bank Digital Currency ต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชพร วงศาโรจน์. (2558). Big Data ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับความท้าทายที่ต้องเผชิญ, บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ. (2565). สินทรัพย์ดิจิทัลกับการลงทุนในตลาดหุ้น. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/139-tsi-invest-in-digital-asset-through-stock-market
ศิรดา หวังภัทรพรทวี และ อนุชิต ศิริรัชนีกร. (2558). ระบบการชำระเงิน: ฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล, บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ศรัณย์ กิจวศิน. (2563). คลังแจงสถานะกรุงไทยแม้ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจแต่ยังเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ นโยบายไม่เปลี่ยนแปลง. https://thestandard.co/ministry-of-finance-announced-ktb-status/
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2563). ปุจฉา วิสัชนา ว่าด้วยเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง, สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_10Aug2020.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2566 – 2570. https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012150719.pdf
สันติธาร เสถียรไทย. (2564). The great remake สู่โลกใหม่. สำนักพิมพ์มติชน.
อสมา กุลวานิชไชยนันท์. (2566). Road to data-driven organizations หนทางสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล. บริษัท พราว เพรส (2002) จำกัด.
CNBC. (2023). Bank of Japan to launch pilot program for issuing digital yen in April. https://www.cnbc.com/2023/02/17/bank-of-japan-to-launch-pilot-program-for-issuing-digital-yen-in-april.html?__source=iosappshare%7Cjp.naver.line.Share
Diamond, J., & Khemani, P. (2005). Introducing financial management information systems in developing countries, IMF Working Paper 05/196. International Monetary Fund.
Hougan, M., & Lawant, D. (2021). Cryptoassets: The guide to bitcoin, blockchain, and cryptocurrency for investment professionals. CFA Institute Research Foundation.
O’Sullivan, A., & Sheffrin, S.M. (2003) Economic: Principles in Action (2nd ed). Pearson Prentice Hall.
Reuters. (2022). Former PBOC official says China's digital yuan is little used – Caixin. https://www.reuters.com/technology/former-pboc-official-says-chinas-digital-yuan-is-little-used-caixin-2022-12-29/
Seeking Alpha. (2564). China’s digital yuan is not a threat for Alibaba and Tencent. https://seekingalpha.com/article/4419549-chinas-digital-yuan-is-not-threat-for-alibaba-and-tencent
World Bank. (2021). Central bank digital currency: A payments perspective. https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/36765