กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

Main Article Content

You Xiaoyan
ธีรพงษ์ บุญรักษา
สิงหนาท น้อมเนียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนที่เรียนวิชาภาษาไทยเป็นวิชาหลัก และศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาจีนจำนวน 400 คน และใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์นักศึกษาจีนจำนวน 10 คน และอาจารย์สอนภาษาไทยจำนวน 5 คน จากสถาบันการอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยเกษตรยูนนาน มหาวิทยาลัยการเงินและเศรษฐศาสตร์ยูนนาน และมหาวิทยาลัยเหวินซาน งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ Oxford (1990) ซึ่งประกอบไปด้วย 6 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ใช้ความจำ (memory strategies), กลยุทธ์ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ (cognitive strategies), กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสริมและการทดแทน (compensation strategies), กลยุทธ์เชิงอภิปัญญา (metacognitive strategies), กลยุทธ์เชิงวิภาพ (affective strategies) และกลยุทธ์เชิงสังคม (social strategies)


การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากผลการสำรวจ พบว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นักศึกษาจีนใช้กลยุทธ์เชิงสังคมในการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศมากที่สุด (M = 3.29) รองลงมา ได้แก่ กลยุทธ์เชิงอภิปัญญา (M = 3.13) กลยุทธ์ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ (M = 3.12) กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสริมและการทดแทน (M = 3.07) กลยุทธ์เชิงวิ (M = 3.04) และ กลยุทธ์ที่ใช้ความจำ (M = 3.01) ตามลำดับ ผลการศึกษาข้างต้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษาจีน นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายยังพบว่า นักศึกษาจีนส่วนใหญ่ใช้ทั้งกลยุทธ์เรียนรู้ภาษาไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นักศึกษาจีนมีการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศอย่างหลากหลาย นอกเหนือจากการท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว การวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์ ผู้ออกแบบหลักสูตร รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ควรมีการปรับหลักสูตรและแผนการสอนให้มีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นักศึกษาควรได้มีโอกาสฝึกฝนใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยอย่างหลากหลาย เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่ในการค้นหากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาที่ตนเองถนัดในชั้นเรียน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กูซม ยามิรูเด็ง. (2561). กลยุทธ์การเรียนภาษา: การเรียนการสอนภาษามลายูในประเทศไทย. อินทนิลทักษิณสาร, 13(ฉบับพิเศษ), 113-127.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2559). นักศึกษาจีนโวยมหาลัยเอกชน จัดสอนไม่มีคุณภาพ. กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด.

ทรงศรี สรณสถาพร. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษทางตรงของผู้เรียนชาวไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 9-23.

นวพฤกษ์ รื่นเริง และ สิงหนาท น้อมเนียน. (2564). การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศด้วยตนเอง: กรณีศึกษานักเรียนจีนในมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 110-119.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2552). การจัดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, 9, 107-120.

รสริน ดิษฐบรรจง. (2561). การศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนจาก Guangxi Agricultural Vocational College มณฑลกว่างซีสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1(1), 39-53.

รัชดา ลาภใหญ่. (2559). แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาจีนอย่างมีประสิทธิผล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(21), 37-48.

วิมลวรรณ วงศ์ใหญ่, ศรชัย มุ่งไธสง, และณัฏฐพล สนธิ. (2561). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียนชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(1), 126-134.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124-132.

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวนนท์ นิลพาณิชย์. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 1-12.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2545). คู่มือการสอนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสาหรับชาวต่างชาติ.กรุงเทพฯ: โครงการร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาไทยบนฐานของไทยคดีศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.

สิระ สมนาม. (2551). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ : กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1 ปี จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี สิบสองปันนา ณ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2(1), 76-86.

สุมณฑา ศักดิ์ชัยสมบูรณ์. (2563). การวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 39(3), 121-137.

สุมนทิพย์ วัฒนา. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาปริญญาตรีชาวจีนในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

อรุณี อรุณเรือง, ทรงสิริ วิชิรานนท์, และภาวิณี อุ่นวัฒนา. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Ministry of Foreign Affairs. (2019). Joint press statement by the government of the People's Republic of China and the Kingdom of Thailand. Retrieved October 10, 2019 from https://bit.ly/3i2f5yy

Nomnian, S. (2018a). Chinese overseas students’ perspectives on benefits and limitations of English language learning and teaching between China and Thailand. Arab World English Journal, 9(2), 251-261.

Nomnian, S. (2018b). Synergizing transcultural learning of global Englishes: Voices of Chinese exchange students in a Thai university. ELT education (Thailand).

O’Malley, J. M., & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge University Press.

Oxford, R. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. Newbury House Publishers.

Rao, Z., & Huang, L. (2019). Exploring the effects of school context on Chinese students’ use of language learning strategies in English learning. Applied Linguistics Review, 10(2), 117-136.

Tang, M., & Tian, J. (2015). Associations between Chinese EFL graduate students' beliefs and language learning strategies. International Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 18(2), 131-152.

Wu, Y., Yin, G., & Zhang, Y. (2022). Experience and perceptions of Chinese university students regarding the COVID-19 pandemic: A qualitative analysis. Frontiers in Public Health, 10, 872847. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.872847

Xue, S. (2015). Language learning strategy use of Chinese EFL students in relation to gender. Sociology and Anthropology, 3(5), 259-268.