มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการโรงแรมในประเทศไทย: ศึกษากรณีการขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม

Main Article Content

ฐิตาพร อุทก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการโรงแรมในประเทศไทย โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะกรณีอาคารโรงแรมที่ก่อสร้างใหม่เพื่อใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ เอกสารวิชาการ บทความวิชาการ รวมทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งของไทยและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอนุญาตและการใช้มาตรการอื่นแทนระบบอนุญาต โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์กับหลักเกณฑ์และกระบวนการขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดในการขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม และกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรมของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการโรงแรมของประเทศไทยมีปัญหาสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ความทับซ้อนและความไม่เป็นเอกภาพของกฎมหายที่เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการขอในอนุญาตหลายใบสำหรับกิจการเดียวกัน 2) ปัญหาในกระบวนการและขั้นตอนการขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ซึ่งมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก และมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาตที่ก่อให้เกิดความล่าช้า และ 3) รูปแบบที่เหมาะสมในการควบคุมกำกับการประกอบกิจการโรงแรมที่ในปัจจุบันการควบคุมการดำเนินการประกอบกิจการโรงแรมของไทยอยู่ภายใต้รูปแบบระบบอนุญาต อันส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบการค่อนข้างมาก สร้างภาระในการดำเนินการ และไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ในตอนท้าย ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงมาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการโรงแรมในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปี 3 ฉบับที่ 1/2565. https://www.mots.go.th/news/category/663

กรมการปกครอง. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานกฎหมายโรงแรม. https://chanthaburi.mots.go.th/ewtadmin/ewt/chanthaburi/ewt_dl_link.php?nid=797

กองนิติการ กรมโยธาธิการและผังเมือง. (ม.ป.ป.). โครงการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบและแปลกฎหมายในกลุ่มประเทศอาเซียนในเรื่อง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. http://oldoffice.dpt.go.th/legal/images/pdf/book1.pdf

คณะทำงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ระบบอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รายงานการศึกษา เรื่อง การใช้ระบบอนุญาตและมาตรอื่นแทนระบบอนุญาตในระบบกฎหมายต่างประเทศ. https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1570530592-xp1dm-6yl4k.pdf

ชนาทร จิตติเดโช. (2563). หลักเกณฑ์การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. https://www.parliament.go.th/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). Regulatory Guillotine ปฏิรูปกฎหมาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256204Knowledge03.aspx

ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2557). การพัฒนากฎหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.วารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 5(1), 1-12.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (ม.ป.ป.). หลักเกณฑ์การพิจารณาการกำหนดระบบอนุญาตในกฎหมาย. https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1579148886-2cqso-rwvy6.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). คำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย. https://lawreform.go.th/uploads/files/1579148869-mxyxd-s4ntr.pdf

อนุพงศ์ สุขสมนิตย์. (2546). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม ศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Bayer R. (2007). The continuing tensions between individual rights and public health. Talking Point on public health versus civil liberties. EMBO reports, 8(12), 1099–1103

Ministry of Manpower. (n.d.). LicenceOne new features guide. https://www.mom.gov.sg/-/media/mom/documents/services-forms/licenceone/licenceone-new-features-guide.pdf

Moon, R. (2017). Limits on constitutional rights: The marginal role of proportionality analysis. Israel Law Review, 50(1), 49-68. doi:10.1017/S0021223716000327

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522.

พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

Development of Tourism Act 1969.

Hotel Proprietor Act 1956.

Singapore Tourism Board Act 1963 (Chapter 305B).