การประยุกต์ใช้ทฤษฎีกลุ่มและทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ชุมชนป่าภูถ้ำและแก่งละว้า จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นิภาพรรณ เจนสันติกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายบริบทพื้นที่ และข้อมูลโครงการเกี่ยวกับน้ำในจังหวัดขอนแก่น 2) อธิบายสภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยคัดเลือก 2 พื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำ คือ ชุมชนป่าภูถ้ำ และพื้นที่แก่งละว้า 3) วิเคราะห์การแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำของพื้นที่ชุมชนป่าภูถ้ำและพื้นที่แก่งละว้า 4) นำเสนอข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ โดยนำทฤษฎีกลุ่มและทฤษฎีการมีส่วนร่วมมาใช้ในการอธิบาย วิธีการศึกษาประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า ในพื้นที่ชุมชนป่าภูถ้ำ มีปัญหาหลัก คือ ความแห้งแล้งซ้ำซาก และกระบวนการการแก้ไขปัญหามาจากทุนทางสังคมอันเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนที่ตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน และมีส่วนร่วมในวางแผน ปรับวิถีการดำเนินชีวิต โดยเน้นเกษตรทฤษฎีใหม่ และการผลิตพืชเชิงเดี่ยว และมีนวัตกรรมท้องถิ่นที่เรียก “ขาแค” เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการน้ำที่ประสบผลสำเร็จในพื้นที่ ส่วนพื้นที่แก่งละว้า พบว่า มีปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง และกระบวนการการแก้ไขปัญหามาจากการจัดตั้งกลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า เพื่อค้นหาแนวทางในการพื้นฟูระบบนิเวศแก่งละว้าให้คืนสภาพเดิม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนชุมชน และมีแนวคิดในการการทำนารวมและใช้ทรัพยากรร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมชลประทาน. (2561). รายงานแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำ จังหวัดขอนแก่น. สำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน.

จักรภพ พันธศรี. (2563). เรื่องจากปก: “เขื่อนอุบลรัตน์” ภัยแล้งที่เริ่มคืบคลาน. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(2), 1-3.

ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี. (2564). ความท้าทายด้านความมั่นคง: ผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. https://www.sdgmove.com/2021/07/29/sdg-insights-climate-change-to-changes-in-geopolitics/

ไทยโพสต์. (2564). “ชุมชนป่าภูถ้ำ” จากแล้งสุดในอีสาน สู่ต้นแบบทางรอด. https://www.thaipost.net/main/detail/100071

ธงชัย โรจนกนันท์. (2561). มาตรการด้านผังเมืองเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติและเตรียมรับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. วารสารสิ่งแวดล้อม, 22(3), 9-13.

บ้านเมือง. (2563). การศึกษา “ชุมชนป่าภูถ้ำ ขอนแก่น” ลุกขึ้นจัดการตน-รอดพ้นแล้ง. https://www.banmuang.co.th/news/education/188638

ประวิทย์ จันทร์แฉ่ง. (2553). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). เขื่อนอุบลรัตน์เต็มความจุอ่าง 100% แล้ว เปิดสปิลเวย์เพิ่มระบายน้ำสูงสุดวันละ 20 ล้าน ลบ.ม. https://mgronline.com/local/detail/9640000103511

มติชนออนไลน์. (2561). วท.ชูการบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ “ป่าภูถ้ำ-ภูกระแต”. https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1196007

มติชนออนไลน์. (2564). ชป.ลุยแผนพัฒนาแหล่งน้ำในขอนแก่น หวังแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างยั่งยืน. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2556151

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2564). การใช้เขื่อนจัดการทรัพยากรน้ำจะล้มเหลว แต่อาจยังมีความสำคัญ. https://www.seub.or.th/bloging/news/dams-fail-but-still-vital/

มูลนิธิอุทกพัฒน์. (ม.ป.ป.). ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น บริหารจัดการน้ำแล้ง

น้ำหลาก บนพื้นที่สูงลอนคลื่น. https://www.utokapat.org/ตัวอย่างความสำเร็จ/ชุมชนป่าภูถ้ำ-ภูกระแต-ต/

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (ม.ป.ป.). เมืองขอนแก่น โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

สมชญา ศรีธรรม และ รวี หาญเผชิญ. (2563). ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่อการนำองค์ความรู้มาใช้ในการจัดการน้ำท่วมของชุมชนลุ่มน้ำชี-น้ำพอง ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารปกครอง, 9(2), 100-137.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม. (2559). รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2559. สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. (2554). การบริหารจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยของประเทศไทย. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.

อนุวัฒน์ พลทิพย์, รัชนีวรรณ นิรมิต, จรูญพิศ จันทะศรี, ภานุมาศ พรหมเอี่ยม และ วรนุช จันทะบูรณ์. (2563). รูปแบบและบทเรียนการจัดการน้ำจังหวัดขอนแก่น: กรณีภูมินิเวศพื้นที่สูงลอนคลื่นและพื้นที่เอียงลาดลุ่มต่ำ. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

อรทัย อินต๊ะไชยวงค์. (2560). สิทธิชุมชนในการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 1(1), 171-193.

อภิศิทธิ์ บุสำโรง, อนุสรณ์ เชิดทอง, เทพนิรันดร ปัญจนะ, สวัสดิ์ ใจกล้า, คงเดช เข็มนาค, จันทร์ สีไพรวัน, มานิด ผักเฒ่า, สีจันทร์ อ่อนละมูล, ณภาวรรณ ผิวขม, สมบูรณ์ ตลิ่งไชยสง, สากล อินทอง, เชาวลิต ขอนศักดิ์, มาโนช มูลกัน, บุญเรือง ขอนดู่, จันทร์ดา สิงห์นา, ยงยุทธ บัวหา, สวัสดิ์ จันทะคาม, ขันตรี สร้อยโคกสูง, พะเยาว์ นาคำ,…วิเชียร แสงโชติ. (2560). โครงการการศึกษาคุณค่าและการฟื้นฟูอนุรักษ์การเลี้ยงควายในพื้นที่ชุมน้ำแก่งละว้าบ้านป่าแดง ตำบลบ้านไผ่ และบ้านละว้า ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เอสซีจี. (2563). “ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น” ลุกขึ้นจัดการตน-รอดพ้นแล้ง สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู้วิกฤตโควิดระบาด. http://www.scgsustainability.com/th/sustainability/csr-activity/phu-tham-phu-kratae-forest-community/

Anyebe, A.A. (2018). An overview of approaches to the study of public policy. International Journal of Political Science, 4(1), 8-17.

Borrini-Feyerbend, G. (1996). Collaborative management of protected areas: Tailoring the approach to the context. International Union for the Conservation of Nature (IUCN).

Currie-Alder, B. (2003). Why participation? Enhancing our understanding of participatory approaches to natural resource management. International Development Research Centre.

Francis, J. (1990). Natural resources, contending theoretical perspectives, and the problem of prescription: An essay. Natural Resources Journal, 30(2), 263-282.

Lowi, T. J. (1969). The end of liberalism: Ideology, policy, and the crisis of public authority. W. W. Norton.

Selznick, P. (1966). TVA and the grass roots: A study in the sociology of formal organization. Harper & Row.