การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

วฤษาย์ เลิศศิริ
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ (2) เปรียบเทียบการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 316 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จัดการเวลาส่วนมากไปกับการตั้งเป้าหมายในการทำงาน การวางแผนการใช้เวลา การติดตามผลการใช้เวลา การจัดตารางเวลา การขจัดหรือลดตัวการที่ทำให้เสียเวลา และการจัดลำดับความสำคัญของงาน ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามคุณวุฒิ พบว่า มีการบริหารเวลาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า มีการบริหารเวลาในภาพรวมและรายด้านที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา สาสอน. (2556). การบริหารเวลาในการปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยนครพนม.

ธัญชนิต มากมี. (2561). การใช้เวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัณฐภรณ์ สิมมา. (2561). การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประจวบ แจ้โพธิ์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีม ของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 28(87), 268-287.

ภาคภูมิ ช้างใหญ่. (2558). การใช้เวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูษิต ปุลันรัมย์, พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญฺโญ(สืบนิสัย), เรียงดาว ทวะชาวี, พระอธิการบุญช่วย โชติวํโส(อุ้ยวงค์) และพระวิทยา โสภณจิตฺโต(โพธิ์ศรี). (2561). การบริหารเวลา การบริหารชีวิต ตามวิถีพุทธในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 295-304.

เรไร ประกอบผล. (2560). การบริหารเวลาในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริสุดา แก้วมณีชัย. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริสุดา แก้วมณีชัย, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และเอกลักษณ์ เพียสา. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 242-253.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2557). เวลาของฉันหายไปไหน. เพชรประกาย.

สุทัศน์ ใจจังหรีด.(2555). ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของการบริหารเวลาในการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2563). หน่วยที่ 13 การบริหารเวลา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา หน่วยที่ 11-15 (พิมพ์ครั้งที่3). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โสภา แซ่โง้ว. (2558). การบริหารเวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยบูรพา.