มะเกลือเก่าโมเดล: การประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเชื่อมโยงผักผลไม้และข้าวอินทรีย์เข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกผัก ผลไม้ และข้าวอินทรีย์มีเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่เข้าถึงกลุ่มนักเรียน เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังขาดความเข้าใจในเรื่องของผลผลิตอินทรีย์ ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงผักผลไม้และข้าวอินทรีย์เข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียนในพื้นที่ต้นแบบ นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน และการรับรองมาตรฐานผัก ผลไม้ และข้าวอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกแบบเจาะจงรวม 210 คน ประกอบไปด้วยเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนจำนวน 10 คน ครูและนักเรียน 10 โรงเรียน ๆ ละ 20 คน ในตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม 2559 – เดือนตุลาคม 2560 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหาในพื้นที่ 2) การศึกษาความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 3) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การเชื่อมโยงผักผลไม้เข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียน 4) การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงผักผลไม้เข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียน และ 5) การประเมินผลผลสำเร็จของการเชื่อมโยงผักผลไม้และข้าวอินทรีย์เข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียนในพื้นที่ต้นแบบ นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน และการรับรองผลผลิตที่ได้มาตรฐานอินทรีย์แบบ PGS
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (2540, หน้า 10) การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวัน
กุศล สุทรธาดา และจิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2542). รูปแบบและระบบการจัดบริการสถานเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพในประเทศไทย : กรณีพินิจศึกษา. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือการดำเนินงานโครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่สู่ เมืองไทยแข็งแรง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรม- ราชูปถัมภ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. “การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม” สืบค้นจาก https://www.ldd.go.th/WebPGS/ index.html
กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน (2563, หน้า 11) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0