การสำรวจปัญหาการเข้ารับบริการทางสุขภาพในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการเข้ารับบริการทางสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐ และศึกษาเปรียบเทียบระดับของปัญหาในการเข้ารับบริการทางสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรัฐ ใน 5 ด้าน คือ ด้านความสะดวกได้รับจากการบริการ ด้านการประสานงาน ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ ด้านข้อมูลของบริการ และด้านคุณภาพการบริการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับตัวอย่างผู้เคยเข้ารับบริการทางสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐ จำนวน 385 ราย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาด้านความสะดวกที่ได้รับจากบริการอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัญหาด้านอื่น ๆ ทั้งหมด การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ Scheffe’s Post Hoc Comparison พบว่า ค่าเฉลี่ยของปัญหาด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการ มีความแตกต่างกับค่าเฉลี่ยของปัญหาด้านอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อศึกษาเฉพาะปัญหาด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการจะพบว่า ประเด็นด้านระยะเวลาในการรอคอยในการเข้ารับบริการมีค่าคะแนนสูงที่สุด รองลงมาจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสะอาดของห้องน้ำ ความเพียงพอของเก้าอี้หน้าห้องตรวจ ความชัดเจนของเอกสาร คำแนะนำ และแผ่นป้ายตามจุดต่าง ๆ ในโรงพยาบาล ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. http://bps.moph.go.th/
ปุณยภา พวงทับทิม. (2560). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจโรงพยาบาล AAA อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. http://digital_co.lib.buu.ac.th/dcms/files/57710245.pdf
พัชรินทร์ ดำรงพิพัฒน์กุล และคณะ. (มปป). การพัฒนากระบวนการให้บริการผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู. https://www.gj.mahidol.ac.th/tech/FileDownload/File/D150511183801.pdf
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2554). คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาล ในเขตจังหวัดปทุมธานี.
http://www.research.rmutt.ac.th/?p=7861
แสงเทียน อยู่เถา. (2560ก). การบริหารงานเวชระเบียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงเทียน อยู่เถา. (2560ข). เวชสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภิตา ขันแก้ว. (2546). การศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ
โรงพยาบาลชุมชน ภาคเหนือตอนบน.https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/144532
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545.
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CB29/%CB29-20-2545-a0001.pdf
คณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/
Aday, L. A., & Andersen, R. (1974). A framework for the study of access to medical care. Health Services Research, 9(3), 208–220.