การประเมินเพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันระดับพื้นที่ : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและเพชรบุรี

Main Article Content

วรานิษฐ์ ลำใย
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระบวนการดำเนินงาน (ระยะที่ 1) โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชันระดับพื้นที่ : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและเพชรบุรี และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ 3 ล้าน 3 ปีฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 189 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับจังหวัด โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นแกนหลัก จัดประชุมและประชาสัมพันธ์โครงการให้กับสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอเพื่อรับทราบนโยบาย  2) ระดับอำเภอ โดยสาธารณสุขอำเภอแต่ละอำเภอ จัดประชุมและประชาสัมพันธ์โครงการให้กับเจ้าหน้าที่รพ.สต. ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อรับทราบนโยบาย และนำไปขับเคลื่อนในพื้นที่  3) ระดับตำบล โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต. จัดประชุมและประชาสัมพันธ์โครงการ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่เป็นแกนนำ โดยให้อสม.ชักชวนผู้ที่สูบบุหรี่ และคนในครอบครัว ตระหนักถึงโทษและพิษภัยบุหรี่ ให้ผู้สูบบุหรี่ ลด ละ และเลิกบุหรี่ พร้อมสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 3 ล้าน 3 ปีฯ  2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า การติดตาม กำกับ และควบคุมการดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง  การสื่อสารและการรับรู้โครงการมีความเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่มีการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดข้อมูลโครงการจากผู้เข้าอบรมไม่ครบถ้วน


            ข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบหลักควรประชาสัมพันธ์โครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ประชุมติดตามงานและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ควรมีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้รับผิดชอบหลักกับเจ้าของโครงการ 3 ล้าน 3 ปีฯ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

The 3-million 3-year Thailand-wide quit smoking project for King Ministry of Public Health. (2016). [online] Retrieved November 1, 2016, from: http://www.quitforking.com/pages/view/history. (in Thai)
โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน กระทรวงสาธารณสุข.(2559). [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.quitforking.com/pages/view/history

Mae Fah Luang University. (2013). AN EVALUATION OF PROVINCIAL CIGARETTE FREE PROGRAM IN CHIANGRAI, NAN, AND MEAHONGSON. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center, (TRC.) and Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง .(2556). รายงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยประเมินจังหวัดเชียงราย น่าน และ แม่ฮ่องสอน เพื่อมุ่งสู่จังหวัดปลอดบุหรี่. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

Jewpattanakul Y. at al. (2015). To develop youth’s smoking reduction guideline by family and community participations. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center, (TRC.) and Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ. (2558). การพัฒนาแนวทางในการป้องกันและลดการสูบบุหรี่ในเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Boonpleng W. et al. (2020). Experiences of village health volunteers in “Three Millions-Three Years Anti-smoking Project”. The Public Health Journal of Burapha University,15(2), 74-85.
วรรณพร บุญเปล่ง และคณะ. (2563). ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา,15(2), 74-85.

Pitayarangsarit S. and Iamanan P. (2011). Summary of Tobacco Control Situation in Thailand 2011. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center, (TRC.) and Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ และ ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์. (2554). สรุปสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2554. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กรุงเทพฯ :เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Namlabut S., Lamyai w. (2018). The assessment of the effectiveness of the national measures for smoke-free environment in Nong Khai Province. Tobacco Control Research and Knowledge Management Center, (TRC.) and Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
สิริกร นามลาบุตร และ วรานิษฐ์ ลำใย. (2561). การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ในจังหวัดหนองคาย. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

Bulan S. (2003). effectiveness of the smoking cessation program among clients at quit smoking clinic Songkha hospital. Songkha: health education group Songkha hospital. (in thai)
สุภรณ์ บุหลัน. (2546). ประสิทธิผลของโปรแกรมเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้มารับบริการคลินิกอดบุหรี่โรงพยาบาลสงขลา. สงขลา: กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสงขลา.

Suksan S. (2002). Planning and evaluation techniques: Document for lecture, Uttaradit: Uttaradit Rajabhat Institute.
สมพิศ สุขแสน. (2545). เทคนิคการวางแผนและการประเมินผล: เอกสารประกอบการบรรยาย, อุตรดิตถ์ : สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

Bureau of Tobacco Control Department of disease control Ministry of Public Health and Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. (2016). Estimating the economic loss from smoking. BOD project International Health Policy Program. (online). Retrieved December 7, 2016, from: http://www.trc.or.th/th/images/upload/files/dat/cigarcontrol/3.pdf. (in thai)
สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2559). การประมาณการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการสูบบุหรี่. โครงการ BOD สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (ออนไลน์) เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.trc.or.th/th/images/upload/files/dat/cigarcontrol/3.pdf

Garvey, A.J., Kinnunen, T., Nordstrom, B.L., Utman, C.H., Doherty, K. and Rosner, B. (2002). Effects of nicotine gum dose by level of nicotine dependence. Nicotine and tobacco Research,2, 53-63.

Stufflebeam DL, Zhang G.(2017). The CIPP evaluation model: how to evaluate for improvement and accountability. Guilford Publications.