การเสริมสร้างความผูกพันของสมาชิก ที่มีต่อสหภาพแรงงาน: ศึกษากรณี สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ธีรนวล จารุสมบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการเสริมสร้างความผูกพันของสมาชิก ที่มีต่อสหภาพแรงงาน: ศึกษากรณี สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ คือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 365 ตัวอย่าง ประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพได้กำหนดกลุ่มบุคคล จำนวน ๑๐ คน เพื่อทำการสัมภาษณ์ขอข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความก้าวหน้าการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อสหภาพแรงงาน เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกับความผูกพันของสมาชิก และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ควรดำเนินการให้แก่สมาชิกของตนในอนาคต


จากสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกันมีผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ด้านเพศ ด้านสายงานที่รับผิดชอบ ด้านระยะเวลาที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ด้านการมีตำแหน่งในสหภาพแรงงาน กับ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ สรุปผลการทดสอบ ได้ว่า เป็นการยอมรับ H0 หรือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ ด้านสายงานที่รับผิดชอบ ด้านระยะเวลาที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ด้านการมีตำแหน่งในสหภาพแรงงาน ที่ต่างกัน มีผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านระดับตำแหน่งงาน ด้านจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านระยะเวลาที่ทำงานในองค์การ ด้านสถานที่ปฏิบัติงาน กับ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ สรุปผลการทดสอบ ได้ว่า เป็นการยอมรับ H1 หรือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านระดับตำแหน่งงาน ด้านจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านระยะเวลาที่ทำงานในองค์การ ด้านสถานที่ปฏิบัติงาน ที่ต่างกันมีผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ แตกต่างกัน


จากสมมติฐานที่ 2 การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานมีผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การผลการศึกษาพบว่า ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ด้านการพิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์  ด้านการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างงานของลูกจ้าง ด้านการดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และรักษาผลประโยชน์ของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ด้านการส่งเสริมจัดให้มีการศึกษาและจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ที่มีผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การเป็นการยอมรับ H1


จากสมมติฐานที่ 3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การศึกษาพบว่า ในด้านตำแหน่งทุกตำแหน่งในองค์กรต่างให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทุกสายระดับบัญชาการ และมีการดำเนินงานและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอันก่อประโยชน์ให้กับองค์กร


จากสมมติฐานที่ 4 แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การศึกษาพบว่า ควรใช้แนวทางในการอบรมสัมมนา พบปะเยี่ยมเยียนสมาชิกทุกภาค พยายามพูดคุยทำความเข้าใจกับฝ่ายบริหารอยู่เสมอๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมชัย แก้วละเอียด (2531). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการต่อกองสารวัตรนักเรียน กรมพลศึกษา. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระ วีรธรรมสาธิต (2532). ความผูกพันตอองคการ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหารระดับหัวหน้าแผนก / เทียบเท่าของเครือ ซีเมนตไทย. สารนิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

อรัญญา สุวรรณวิก. (2541). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทยูคอม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Steer, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly. 22(1),46-49.

Steers, R.M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. 3rd ed. NewYork : McGraw – Hill.