รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาเชิงรุกเพื่อบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วัชระ จตุพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อบริหารความเสี่ยง และพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาเชิงรุกเพื่อบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ศึกษา คือ ครูและผู้บริหารโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา และงานความเสี่ยงในโรงเรียน จำนวน 12,177 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 1,045 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 342 คน และครู จำนวน 703 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภทข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ผลกระทบ 2) ปัจจัยนำเข้า และ 3) ผลลัพธ์

  2. การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) สารสนเทศและการสื่อสาร 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ และ 3) การมีกิจกรรมควบคุม

  3. การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา

  4. 4. รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาเชิงรุกเพื่อบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ รูปแบบ “3 คุณภาพ 5 ปัจจัย สู่การบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21” (Q3 IPOOI) ประกอบด้วย 1) การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อบริหารความเสี่ยงมี 3 ประการ 2) ปัจจัยความเสี่ยงมี 5 ประการ และ 3) การบริหารความเสี่ยงในศตวรรษที่ 21 มี 8 ประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Assessment of the school of the three rounds. The overall slump. Isan small schools do not pass the standard. (2012, 13 July). Thairath Online. Retrieved June 20, 2018, from https://www.thairath. co.th /content/275639. (in Thai)
ผลการประเมิน ร.ร.รอบสามภาพรวมตกต่ำโรงเรียนเล็กอีสานไม่ผ่านมาตรฐานอื้อ. (2555, 13 กรกฎาคม). ไทยรัฐออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/275639.

Attharawiwat W. & Na Sunthorn T. (2012). Problems and solutions Educational Quality Assurance for
Primary Schools in Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Education, 6(1).
(in Thai)
วรเศรษฐ์ อรรถรวีวัฒน์ และธนีนาฏ ณ สุนทร. (2555). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์, 6(1).


Auawong S. (2005). Risk management in schools. (Handout). Bangkok: Siam University. (in Thai)
สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2548). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา [เอกสารประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Bureau of Educational Testing. (2011). Guidelines for quality assessment in accordance with basic education standards for internal quality assurance of schools. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Chareonwongsak K. (2007). Analyze the 5 external factors affecting Thai education. Retrieved November
13, 2018, from http://www.kriengsak.com/node/1040. (in Thai)
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2562, จาก
http://www.kriengsak.com/node/1040.

Chesadawan C. (2003). Internal audit and internal control. Bangkok: Pordee Company. (in Thai)
เจริญ เจษฎาวัลย์. (2546). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: บริษัทพอดี.

Chuaitrakun D. (2008). Risk management in basic education institutions. Educational Dissertation. Silpakorn
University. (in Thai)
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Nongmak C. (2003). Educational Quality Assurance Practice. (2nd ed.). Bangkok: Institute of Academic Quality
Development. (in Thai)
จำรัส นองมาก. (2546). การปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

Phanit W. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. (3rd ed.). Bangkok: Sodsri-Saritwong
Foundation. (in Thai)
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.

Pongchon S., Wonin C. & Konphuang A. (2018). The development of a model of internal quality assurance in basic education institutions using achievement management methods. Journal of Research for Community Development (Humanities and Social Sciences). Naresuan University, 11(3), 115-129. (in Thai)
สุภัค พวงจร, ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์, อนุชา กอนพ่วง. (2561). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(3), 115-129.

Pongkhamphan K. (2006). The implementation of the internal education quality assurance system
Educational institutions under the Khon Kaen Educational Service Area Office, Area 3. Master
Thesis in Education. Loei Rajabhat University. (in Thai)
คจิตร พงษ์คำพันธ์. (2549). การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Saimai T. (2017). Risk management of small schools under the Office of Pathum Thani Educational Service
Area. Master Thesis in Education. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
ธัญญารัตน์ สายใหม่. (2560). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Siribanphithak P. (2016). Change management and risk management in the education. (Handout).
Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการบริหารความเสี่ยงด้านการศึกษา [เอกสารประกอบ
การบรรยาย]. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Sueasa J. (2014). The development of a model of educational quality assurance in educational
institutions under Ubon Ratchathani Educational Service Area Office 3. Master Thesis in
Education. Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai)
จิตติ เสือสา. (2557). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
อุบลราชธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2004). Enterprise risk management framework. Retrieved June 23, 2018, from https://www.coso.org/Pages/erm-integratedframework.aspx.

Thongear N. (2015). School risk management as per the opinions of administrators and teachers Under the
Office of Primary Education Service Area Saraburi. Master Thesis in Education. Thepsatri Rajabhat
University. (in Thai)
ณัฐนภา ทองเอีย. (2558). การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Wongvanit S. (2001). Quality assurance guidelines for educational institutions. Bangkok: National Institute for Quality Assessment and Educational Standards. (in Thai)
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.