การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ของตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พจนา บุญคุ้ม

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1) ศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลสามพระยา  2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของตำบลสามพระยา และ  3) หาข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของตำบลสามพระยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา พื้นที่ศึกษา ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในพื้นที่ของตำบลสามพระยา จำนวน 8 หมู่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ประชาชนในตำบลสามพระยา จำนวน 360 คน  2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตอำเภอชะอำ จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม  3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ จำนวน 10 คน  4) ผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม  5) นักศึกษาของวิทยาลัยฯ จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ประเด็นสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม เก็บรวมรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า  1) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่ตำบลสามพระยามีกิจกรรมที่หลากหลายและมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยจำแนกกิจกรรมเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการปลูกพืช 2. ด้านการประมง และ 3. ด้านการปศุสัตว์  2) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของตำบลสามพระยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ S-SAC Model โดย S ตัวแรก คือ เกษตรพอเพียง (Sufficiency Agriculture) S ตัวที่สอง คือ ชุมชนยั่งยืน (Sustainable Community) A คือ เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology) และ C คือ เครือข่ายความร่วมมือ (Cooperation Network) และ  3) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของตำบลสามพระยา เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ควรนำรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไปขยายผลในกลุ่มสถานศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มวิทยาลัยการเกษตรของประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เห็นผลในเชิงรูปธรรมต่อไป และควรพัฒนาความรู้รวมทั้งทักษะในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้แก่ชุมชนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุก ๆ ด้าน เช่น การเสนอความคิดเห็นและการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนของชุมชนสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559.
กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 - 2560.
กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กิติพจน์ แสนสิงห์. (2552). โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วม
ของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านบัวเทิง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์
จังหวัดอุบลราชธานี.
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ และคณะ. (2552). วิเคราะห์นโยบายมหภาคของรัฐในมิติต่าง ๆ จาก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2540 - 2549) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว).
นภดล ภาคพรต. (2546). ความหมาย ความสำคัญ และหลักการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในเอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:
เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. (พิมพ์ครั้ง
ที่ 2). นนทบุรี: ธรรมสาร จำกัด.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่
4). กรุงเทพฯ: หจก. เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2556). การศึกษาศักยภาพในการพัฒนาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
เพชรบุรีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี. (2555). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา. เอกสารอัด
สำเนา.
----------. (2556). การประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ครั้งที่ 34. เอกสาร
แผ่นพับ.
-----------. (2558). ข้อมูลบุคลากร. เอกสารอัดสำเนา.
วิภวานี เผือกบัวขาวและสาโรช เผือกบัวขาว. (2561: 509-524). กลยุทธ์การพัฒนาแหล่ง
ท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี บนฐาน
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn
University, Vol11,No2 (2561).
ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2551). ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2544). การดำเนินการเพื่อกำหนด
นโยบายการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ประเทศไทย.
สุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2555). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาอย่าง
ยั่งยืนภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารราชบัณฑิตยสถาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.
สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ปัญหาความ
ยากจนและการทุจริต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่
8 (พ.ศ. 2555 - 2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี.. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560 ฉบับ
ทบทวน.
----------. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2561- พ.ศ. 2564.
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา. (2559). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 – พ.ศ.
2561). องค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.
อุดมพร อมรธรรม. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ: แสงดาว.
Krejcie R. V. and Morgan. D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research
Activities”.Education and Psychological Measurement. p. 608.