การศึกษาแรงจูงใจที่มีต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

Main Article Content

กันยารัตน์ ทองมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
2. เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
และ 5. เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณนั้น ได้ทำการกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของ Taro Yamane กำหนดขอบเขตความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวนทั้งสิ้น 316 คน ได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ t-test, f-test ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression) สำหรับการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ซึ่งคุณสมบัติของประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง โดยเป็นข้าราชการ ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอในรูปความเรียง


 


                         ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจที่มีต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ตัวแปรแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ผู้วิจัยนำมาวิจัยนั้น เป็นตัวแปรที่สนับสนุนสมมติฐาน คือ ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านนโยบายการบริหาร ด้านเงินเดือน ด้านสวัสดิการ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธภาพภายในหน่วยงาน
ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความท้าทายในงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในงาน ทั้ง 10 ตัวแปรนี้ เป็นตัวแปรที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม สำหรับตัวแปรตาม คือ ขวัญ
และกำลังใจในการปฏิบัติงาน เมื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งได้จากการนำปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจทั้ง
10 ด้านนำมาวิเคราะห์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง 3 อันดับคือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของงาน และด้านความสัมพันธภาพในหน่วยงาน ต่อมาวัตถุประสงค์ 2. เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวม พบว่า ระดับขวัญและกำลังใจอยู่ในระดับมาก เนื่องจากความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีการได้รับการตอบสนองจากปัจจัยค้ำจุน
และปัจจัยจูงใจ ซึ่งทำให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์ 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ด้านอายุ ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ด้านรายได้ที่ได้รับต่อเดือน และด้านประเภทบุคลากร ที่มีความแตกต่างกันจะมีขวัญและกำลังใจต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพ และด้านวุฒิทางการศึกษา ที่มีความแตกต่างกันจะมีขวัญและกำลังใจไม่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ 4 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์
ของแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีเพียง 3 ด้านที่ร่วมกันมีความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
คือ ด้านความรับผิดชอบ, ด้านความสำเร็จของงาน, ด้านสัมพันธภาพภายในหน่วยงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (R = .710) โดยตัวแปรทั้งสามร่วมกันกำหนดค่าแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ได้ประมาณร้อยละ 50 (R2 ) = .503 และจากการวิเคราะห์แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านความรับผิดชอบมีแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจมากที่สุด (Beta =  .51) รองลงมาได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน (Beta =  .22) ด้านความสัมพันธภาพในหน่วยงาน (Beta = .11) และวัตถุประสงค์ 5. เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ พบว่า แรงจูงใจที่หน่วยงานควรนำมาเป็นแนวทางการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านสัมพันธภาพภายในหน่วยงาน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน และด้านความท้าทายในงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ บุญพิคำ. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไกรวัลย์ เจตนานุศาสน์. (2545). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พอร์คคิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรงงานบ้านโป่ง.
จารุณี สารนอก (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา.
ชาลิสา สุคนธพงศ์.(2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสำนักงานพลังงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
โชติกา ระโส.(2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐธัญ ปรุงเครื่อง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปราม (สายตรวจ)ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ทิพย์ประภาทองศรี . (2550). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างเทศบาลตำบลเสม็ดอำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี.ปัญหาพิเศษร.ม.,มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ทิพย์ภิมล ญาณกาย.(2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณทิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนาชัยวัฒน์ เดชาสินธ์เจริญ. (2553). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บุญเลี้ยง ครองชัย. (2551). ขวัญและกำลังใจของบุคลากรที่โอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด : องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีจำกัด.
พัชรี คงดี. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรี เรืองจุติโพธิ์พาน. (2553). การศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับบทบาทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก ในการส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัทยา ขันทอง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับผลการปฏิบัติงานบุคลากรในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
พณิณญา นาตาแสง. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งรัชดา พิธรรมานุวัตร.(2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระการ ศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันเพ็ญ เนตรประไพ. (2553). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนมารีอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิดา อินรสันติ.(2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏนครปฐม.
สุนิษา สุขเนียม. (2553). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมของบุคลากรสายบริการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุทนต์ กระจ่างจิต, ด.ต. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. ค้นคว้าอิสระ. ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). บุรีรัมย์ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
อาราม หะยีปีเย๊าะ.(2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานของสมาชิกอาสารักษาดินแดนในกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนราธวาส.การค้นคว้าอิสระวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Baron, R.A., & Greenberg J .(1986). Behavior in organization.Boston :Allyn and bacon, Inc.
Belle Ruth Witkin. (1984). Assessing needs in educational and social programs josscy – bass publishers. San Francisco. Washington London.
Cherrington, D.J., (1989). Organizational Behavior.Boston :Allyn and Bacon, Inc.
Herzberg, F., Mausner, B. &Snyderman, B. (1959).The Motivation to Work. New York : Johnwiley& Sons, Inc.
Maslow, A.H. (1987). Motivation and Personality. (3rded.) New York : Harper & RowPublishers, Inc.
Schermerhornm J.R. Hunt, JJ.,& Osborn, R.N., (1985) Managing Organization Behavior. NewYork : Wiley and Sons.
Schermerhornm J.R. Hunt, JJ.,& Osborn, R.N., (1985) Managing Organization Behavior. NewYork : Wiley and Sons.
Misra. (1986). “Self Esteem, Need Achievement and Need Autonomy as Moderators of the JobPerformance Job Satisfaction Relationship”.Perspectives in PsychologicalResearches.
Murphy. (1991). Performance Appraisal : An Organizational Perspective. Boston :Allyn andBacon
Torrington and Hall. (1991). PersonelManagement : A New Approach. 2nd ed. New York :Prentice-Hill, Inc.