การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

นรีรัตน์ สมหวังสมบัติ
จักรวาล สุขไมตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดลจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และระยะเวลาปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 364 คน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ใช้วิธีของเชฟเฟ่  


ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านหลักความคุ้มค่า (2) ด้านหลักคุณธรรม (3) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (4) ด้านหลักนิติธรรม (5) ด้านหลักความรับผิดชอบ และ (6) ด้านหลักความโปร่งใส ตามลำดับ 2) บุคลากรสายสนับสนุนที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยรวมทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น บุคลากรสายสนับสนุนที่มีระดับการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า (1) หลักนิติธรรม กฏระเบียบของมหาวิทยาลัย ควรมีความทันสมัย เป็นธรรม/ยุติธรรมที่ชัดเจนและรัดกุม เน้นการบังคับใช้และการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม (2) หลักคุณธรรม ควรเริ่มจากตัวเรา ควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามศาสตร์พระราชา และให้ความสำคัญเรื่องความซื่อสัตย์ ระเบียบวินัย และจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างยิ่ง (3) หลักความโปร่งใส ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้คนทั่วไปทราบ ควรมีช่องทางให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น (4) หลักการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงความคิดเห็นมีส่วนร่วมรับรู้/รับฟังปัญหาต่าง ๆ และมีคณะทำงานที่มาจากหลากหลายหน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นทีม (Cluster) (5) หลักความรับผิดชอบ ควรมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึก รู้หน้าที่และมีความทุ่มเทให้กับงาน โดยถือประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและจรรยาบรรณเป็นหลัก ควรเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอกให้มากขึ้น และปรับแนวคิดระบบการทำงานให้สอดคล้องกันระหว่างคนหลายช่วงวัย (6) หลักความคุ้มค่า ควรเน้นการบริหารและการลงทุนที่ช่วยให้เกิดความคุ้มค่า   ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และความมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนควรมีนโยบายการประหยัดทรัพยากร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานขับเคลื่อนระบบธรรมาภิบาล. (2559). คู่มือธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. (2543). การปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ผกาทิพย์ นวลดำ. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์
เครือข่ายการศึกษาที่ 3 (ภูมิพอเพียง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุกราชวิทยาลัย.
พรรณี โสรถาวร. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรโรงเรียนบ้านเปลือยน้อยสุข
สวัสดิ์ ตำบลบ่อพันซัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระบุญเสียง สตฺตจิตฺโต (2557). การใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงานของบุคลากร สำนักงานเขต
บางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระบุญหลวง สิริวณฺโณ (วังมูล). (2558). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระปลัดไพรวัลย์ ชาคโร (ศรีเมือง) (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาชินวัฒน์ ธัมมเสฏโฐฺ. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์นิภา จินตานพันธ์. (2560). ทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อบทบาทการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ และกฤษณ์ ภูรีพงษ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลกับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิ
ภาพการบริหารจัดการศึกษา ในมหาวิทยาลัยเอกชนพื้นที่ภาคเหนือ. ในวารสารวิชาการศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560.
ลัดดา ผลวัฒนะ. (2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย. ในวารสารการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เมษายน - กันยายน 2557.
ศุภิกา ธรรมมารมย์. (2555). ธรรมาภิบาลในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเลขาธิการ ที่ประชุมปอมท. (2551). รายงานการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดม
ศึกษาไทยและออสเตรเลีย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.