บรรยากาศการเรียนรู้ในโครงการ “เที่ยวไม่ไกล ไปกำแพงแสน” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

มนต์ธิดา จันทรมณี
วิกร ตัณฑวุฑโฒ
จุฬารัตน์ วัฒนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศการเรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีต่อบรรยากาศการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรในศูนย์การเรียนรู้ โครงการ “เที่ยวไม่ไกล ไปกำแพงแสน” เลือกการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้การผลิตโคเนื้อครบวงจร (คาวบอยแลนด์) และศูนย์การเรียนรู้อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ (โดมแมลง) เก็บข้อมูลแห่งละ 3 ครั้ง ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นวิทยากรรวมจำนวน 3 คน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน 57 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสังเกตแบบไม่เข้าไปมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการอธิบาย ตีความ จัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ เชื่อมโยง และหาข้อสรุป


          ผลการศึกษาพบว่าการจัดบรรยากาศการเรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรทั้งสองแห่งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีต่อบรรยากาศการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรในศูนย์การเรียนรู้ทั้งสองแห่งมีความเห็นสอดคล้องกันว่ากิจกรรมที่จัดสามารถตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2554. เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน (Online).
http://www.tourismthailand.org., 27 สิงหาคม 2556.
จริยาพร สังขรัตน์. 2551. เส้นทางการเป็นครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษา.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. 2552. การศึกษานอกระบบ: การเรียนรู้และการสอนผู้ใหญ่.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ต่อวงศ์ อยู่ยอด. 2555. การประเมินความต้องการกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการ
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด จังหวัดสระแก้ว.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. 2553. การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุราษฎร์ธานี: การวิจัยฐานทรัพยากรเกษตร
สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม ไอ ที พริ้นติ้ง.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. 2555. จากการประชุม Rio +20 (Online). http://measwatch.org.,
28 สิงหาคม 2556.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2556. เที่ยวไม่ไกล...ไปกำแพงแสน. ม.ป.ท.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และจังหวัดนครปฐม. 2552. รายงานการประชุมวิชาการ
“ฐานคน ฐานทรัพยากร ฐานคิด: การพัฒนาจังหวัดนครปฐมบนฐานข้อมูลและการมี
ส่วนร่วม”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อาภิสรา น้อยบุรี. 2561. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด คิดเป็น เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่อง
การวิจัยในชั้นเรียนของครูประจำศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต
บางเขน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนา
สังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Kanchit Maraphot and Thaksinat Somboon. 2559. “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เพื่อการเรียนรู้: กรณีศึกษา ตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา.” วารสารการบริการและ
การท่องเที่ยวไทย 11 2: 23-36.
School of Management Science Sukhothai Thammathirat Open University. 2016.
พัฒนาการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย (Online). http://www.sms-
stou.org/archives/774., 15 May 2016.