ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พัชรินทร์ เอี่ยมสอาด
วรัชยา ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์และเงื่อนไขที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับ การอุดมศึกษา แนวคิดด้านการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่ แนวคิดการบริหารงานองค์การ แนวคิดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารงานมหาวิทยาลัย  แนวคิดทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลง แนวคิดการพัฒนาองค์การ โดยนำมาสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย


 ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานมหาวิทยาลัยประกอบด้วย เงื่อนไขการบริหารงานมหาวิทยาลัยได้แก่ ด้านพันธกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการ/วิธีการ ส่วนเงื่อนไขสภาพแวดล้อมการบริหารงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ด้านตลาดงาน ด้านการแข่งขันทางวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือด้านวิชาการและการเรียนการสอน ด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ด้านนักศึกษา และ  ด้านการเงิน พบว่าปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานะที่เคยเป็นมหาวิทยาลัยรัฐมาเป็นเวลา การเปลี่ยนลักษณะทางสังคมและความหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับเปลี่ยนรกระบวนการ/วิธีการ ให้เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ และยังต้องพัฒนาคนให้ศักยภาพที่เหมาะสมกับกระบวน/วิธีการที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องพัฒนาการพัฒนาบุคลากรให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2553-2554).IOC =ความตรง? วารสารหลักสูตรและการเรียน
การสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภางค์ จันทวานิช.(2543).วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แหจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2557).คู่มือการ
ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15ปี ฉบับที่ 2(พ.ศ.2551-2565). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(2554).กรอบมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับอุดมศึกษา
Berg,B.L.(2001).Qualitative research methods of the social sciences(4th ed.).Needham Heights,MA:Allyn and Bacon.
Brian Crose.(2011). Internationalization of the Higher Education Classroom:
Strategies to Facilitate Intercultural Learning and Academic Success. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education 2011, Volume 23, Number 3, 388-395
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York: Harper & Row.
Ewan Ferlie , Christine Musselin and Gianluca Andresani.(2008). The steering of
higher education systems: a public management perspective. Published online: 17 April 2008 Springer Science+Business Media B.V. 2008 pp. 325–348
Francesca Bassi (2017). Dynamic clustering to evaluate satisfaction with teaching
at university, International Journal of Educational Management, Vol. 32
Issue: 6, pp.1070-1081
Geoff Goolnik .(2006). Effective Change Management Strategies for Embedding
Online Learning within Higher Education and Enabling the Effective
Continuing Professional Development of its Academic Staff. Turkish Online Journal of Distance Education-TOJDE January 2006 ISSN 1302-6488 Volume: 7 Number: 1 Article: 1 pp.9-14
Hugo Horta.(2009). Global and national prominent universities:internationalization,
competitiveness and the role of the State, Springer Science+Business Media B.V. 2009

Kotter and Schlesinger(2009).Organizational behavior:Key concepts,skill & best
practices.(4thed).New York:McGraw-Hill.
Maria Tsinidou, Vassilis Gerogiannis and Panos Fitsilis.(2010). Evaluation of the
factors that determine quality in higher education: an empirical study. Quality
Assurance in Education Vol. 18 No. 3. Emerald Group Publishing Limited pp. 227-244
Paton A.R.& McCalman J.(2008).Change management: A guide to effective
implemention. (3thed).London:Sage.
Peter D Eckela and Adrianna Kezarb.(2003). Key Strategies for Making New
Institutional Sense: Ingredients to Higher Education Transformation.Higher
Education Policy. International Association of Universities 39–53
Simon Marginson and Marijk van der Wende .(2007).To Rank or To Be Ranked:
The Impact of Global Rankings in Higher Education .Journal of Studies
in International Education pp.306-329
Stephen P.Robbins and Mary Coulter.(2005).Management.(8thed).United States of America : Prentice-Hall, Inc.
Times Higher Education World University Rankings 2015-2016. เมื่อ 12 มกราคม 2559,
จาก : http://p-dome.com/the-world-university-rankings-2015/