ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนยาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว สถิติ Brown-Forsyth และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ผู้แทนยามีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง และสำหรับแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร ความสุขในการทำงาน และประสิทธิผลในการทำงาน อยู่ในระดับสูงมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้แทนยาที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีประสิทธิผลในการทำงานแตกต่างกัน
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ด้านการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม และด้านการบริจาคเพื่อการกุศล ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล และ ด้านการบริจาคเพื่อการกุศล ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลการปฏิบัติงาน
แรงจูงใจ ด้านการยอมรับนับถือจากผู้อื่น และด้านค่าตอบแทนการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล และด้านลักษณะงานที่น่าสนใจ ด้านความรับผิดชอบ และด้านค่าตอบแทนการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลการปฏิบัติงาน
ความผูกพันต่อองค์กร ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล และด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์กร ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลการปฏิบัติงาน
ความสุขในการทำงาน ด้านความรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้แทนยา ในด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
จรรยพร สุรัตนชัยการ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน บริษัท แม่กลองฟู้ดส์ จำกัด. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
เฉลิม สุขเจริญ. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ ศป.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก. ถ่ายเอกสาร.
ชมพูนุท บุญประเสริฐ. (2555). ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิงแวดล้อมกับความผูกพันของพนักงานกลุ่ม Generation Y. งานวิจัย วท.ม. (การบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ซูหนิง หลิน. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานชาวจีนในบริษัทซันไชน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพน์. บธ.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เทิดภูมิ อุ่นอก. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานภาคพื้นการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ จากแรงจูงใจ ความพึงพอใจ ความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัท การบินกรุงเทพ บริการภาคพื้น จำกัด. วิจัย บธ.ม.. มหาวิทยาลัยธนบุรี.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
พชรวรรณ ประพัธนุกูล. (2559). ทักษะของพนักงานและการยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
มติชน ออนไลน์. (2556). สวนดุสิตโพล ชี้ 2 ปีรัฐบาล ขึ้นเงินเดือน15,000บาท/300บาทขั้นต่ำ เข้าตาปชช. จำนำข้าว ฉุดความนิยม. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2561 จาก http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1373772138
รัฐพล ศรีกตัญญู. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สำนักงานอาคารกลาสเฮ้าส์รัชดาภิเษก. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฏิบัติการ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร
อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรส่วนกลาง. ค้นคว้าอิสระ. ศป.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Gavin, J.H. & Mason, R.O. (2004). The Virtuous Organization: The Value of Happiness in the Workplace. Organization Dynamics, 33(1), 379 – 392.
Herzberg, F (1959). Block the Motivation to Work. New York: John Willey.
Kotler, Phillip and Lee, Nancy. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for. Your Company and Cause. New Jerzy: John Wiley & Sons lnc
Moorhead G. and Griffin, R. W. (2001). Organizational Behavior, Managing people and Organization. 5th ed. U.S.A.: Houghton Mifflin Company.
Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.
Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.