การพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการเตรียมพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 2) ร่างและนำเสนอยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 30 คนโดยการจัดประชุมขอเสนอเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัยพบว่า
- ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 จากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพในระดับเบื้องต้น เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลเชิงลึกมีไม่เพียงพอ บุคลากรที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านทักษะอาชีพมีจำนวนจำกัด ขาดการบูรณาการฐานข้อมูลผู้ประกอบการในท้องถิ่น ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพ จึงขาดความร่วมมือในการส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนด้านทักษะอาชีพ จึงมีความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมพร้อมด้านทักษะอาชีพ
- ร่างและนำเสนอยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 ประกอบด้วย 1) การพัฒนาความพร้อมด้านการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ 2) การพัฒนามาตรฐานด้านศักยภาพของผู้เรียน 3) การพัฒนาศักยภาพด้านทักษะอาชีพ และ 4) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการศึกษา ซึ่งผลการประเมินการนำเสนอยุทธศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชำนาญ เหล่ารักผล. (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ
เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์. (2558). ติดอาวุธ “ทักษะการเรียนรู้พื่อการมีงานทำ”. ในจดหมายข่าว สสค. กรุงเทพฯ:
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
ประชาคม จันทรชิต. (2560). เตรียมความพร้อมแรงงานรุ่นใหม่ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0. เข้าถึงได้จาก
http://blog.eduzones.com/jipatar/172870 (Jan 30, 2560).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). “การดำเนินงานด้านนโยบายการศึกษา
ขององค์กรนโยบายการศึกษาระดับชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนและอาเซียนบวกสาม”, งานวิจัย.
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนบน 1. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (พ.ศ.2561-2564). เชียงใหม่: กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1.
เสนาะ กลิ่นงาม. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (2000). “Determining Sample Size for Rescearch
Activities.” Educational and Psychological Measurement 30, 3: 608