แนวทางการจัดการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์

Main Article Content

นิรันทร์ ภิรมย์ลาภา
อนันต์ ธรรมชาลัย
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยศึกษาเรื่องนี้ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ และศึกษาปัจจัยการบริหารสถานสงเคราะห์กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ที่ส่งผลต่อการดูแลเด็กและเยาวชน รวมถึงการนำเสนอแนะแนวทางที่ได้จากการศึกษา การวิจัยได้ทำในรูปแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธี1) การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารภาครัฐในฝ่ายการเมืองและข้าราชการตั้งแต่ระดับสูง และภาคประชาสังคม ซึ่งรวมถึงข้อมูลการดำเนินงานของภาคประชาสังคมในต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการเปรียบเทียบ 2)การประชุมระดมสมอง ฝ่ายผู้บริหารสถานสงเคราะห์และภาคประชาสังคม และ 3)การใช้แบบสอบถาม เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) และสถิติอ้างอิง(Inferential Statistics)


            ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายและระเบียบของภาครัฐ ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ จึงมีภาคประชาสังคมเข้าไปเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ในจำนวนไม่กี่รายเมื่อเทียบกับจำนวนของเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ และยังไม่มีภาคประชาสังคมเข้าไปเป็นแม่นม หรือแม่นมอาสา หรือเป็นที่ปรึกษาทักษะชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์  ภาคประชาสังคมจึงไม่อาจมีส่วนร่วมในการเข้าไปดูแลเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการดูแลในสถานสงเคราะห์ ซึ่งมีปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่สาเหตุหนึ่งมาจากตัวเด็กและเยาวชนเอง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการดูแลที่ไม่ทั่วถึง เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากร และเจ้าหน้าที่หรือพี่เลี้ยงเด็กที่ขาดทักษะและความเข้าใจในการดูแล     ผลการวิจัยได้พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยการบริหารสถานสงเคราะห์ และ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


            สำหรับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์นั้น ได้นำเสนอเป็นมาตรการสอดรับกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติในด้านสิทธิเด็กและครอบครัวทดแทน ตลอดจนเพื่อป้องกันปัญหาครอบครัวแตกแยก ป้องกันการทอดทิ้งเด็ก และปัญหาต่างๆโดยออกเป็นกฎหมายหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงกระทรวงด้านการศึกษา เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ มีศิริ. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมศึกษาวัยของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.
จินดารัตน์ สมคะเณย์. (2558). “แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาล ตำบลสมเด็จอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์: ผลการวิจัยเชิงสำรวจ”. วารสารวิทยาลัย พาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ : 10, 1 (มกราคม-มิถุนายน). หน้า 163-29.
ปรียานุช โชคธนวณิชย์.(2560)” “นมแม่” กับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กในบริบทงาน สังคม.สงเคราะห์” รายงานสืบเนื่องการสัมมนาวิชาการ การสถาปนา คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ ครบรอบ 63 ปี วันพุธที่ 25 มกราคม 2560 จัดทำโดย คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์.(2557).การศึกษาทบทวนด้านการเลี้ยงดูทดแทนในประเทศไทย นโยบายสู่การ ปฏิบัติโดยมุ่งเน้นเด็กที่ได้รับผลกระทบจาก เอชไอวี/เอดส์(CABA)
Cohen, J. M. and Uphoff, N. T.(1977). Rural development participation: Concepts and measures for project design, implementation and evaluation. Cornell University, New York.
Creighton. (2005). Effective Managerial Leadership. New York: American Management Association Research Designate Social Measurement. New York:Lorgwem