ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

วทินา วัชระรังษี
ประชุมพร คล้ายถม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) และ (3) เปรียบเทียบความคาดหวังและระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) จำนวน ทั้งหมด 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังของนักศึกษาด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร และด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับค่าเฉลี่ย 4.21, 4.03, 3.97 และ 3.77 ตามลำดับ และความพึงพอใจของนักศึกษาด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร และด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38, 4.25, 4.24 และ 4.11 ตามลำดับ การเปรียบเทียบโดยรวมแสดงให้เห็นว่าระดับความพึงพอใจอยู่สูงกว่าระดับความคาดหวังในทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2547). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สหมิตรออฟเซต.
พระมหาบัณฑิต นิสาภัย. (2552). การศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.
พิชยากร กาศสกุล (2545). ความคาดหวังด้านคุณภาพบริการของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลราชวิถี.
ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพชรี หาลาภ (2538). ความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาระดับกลางที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติงาน
ของผู้บังคับบัญชาระดับล่าง ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มุกดา สีตลานุชิต. (2558). R2R: Routine to Research กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1): 223-228.
รมิตา วารีย์ (2546). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2551). R2R…อย่าสำคัญ (ผิด) ว่าเป็นเป้าหมาย. ใน จรวยพร ศรีศศลักษณ์ และ อภิญญา ตันทวีวงศ์ (บรรณาธิการ), R2R : Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ. หน้า 11-25. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคม ศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และบัณฑิตงวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555
หลุย จำปาเทศ (2533). จิตวิทยาการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาส์น.
อรวรรณ เอกเอื้อมณี และ ประชุมพร คล้ายถม. (2560). การศึกษาปัญหาในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบและสาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 1(1): 88-100.
อินถา ศิริวรรณและนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2558). การศึกษาแนวทางพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 2 (2): 10-23.
อุทัยพรรณ สุดใจ (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยาประยุกต์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุทุมพร ไวฉลาด และ วันทนีย์โพธิ์กลาง. (2557). ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตท่ีมีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 2: 55-75.