อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งเพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า
- ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก
- ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และด้านความต่อเนื่อง
- ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานภาพของบุคลากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก (r = 0.758) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมพยากรณ์ได้ดี ประกอบด้วย ด้านความดีความชอบ (X14) ด้านลักษณะของเนื้องาน (X3) ด้านการยอมรับ (X2) ด้านเงื่อนไขการงาน (X10) ด้านสัมพันธภาพกับผู้บริหาร (X9) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน (X12) ด้านการบริหารและการจัดการ (X7) ด้านความรับผิดชอบที่ได้รับ (X4) ด้านความยุติธรรม (X13) ด้านความก้าวหน้า (X5) และด้านสถานะทางสังคม (X6) ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.855 ค่าประสิทธิภาพการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.730 สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การ ได้ร้อยละ 72.2 มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ ± 0.251 และมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 0.762 โดยสามารถสร้างสมการในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y/ = 0.762 + 0.224 (X14) + 0.264 (X3) + 0.318 (X2) + 0.092 (X10) +
-0.203 (X9) + 0.112 (X12) + 0.158 (X7) + -0.154 (X4) + 0.065 (X13) + -0.116 (X5) + 0.076 (X6)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/ = 0.320 (X14) + 0.321 (X3) + 0.397 (X2) + 0.128 (X10) + -0.284 (X9) + 0.129 (X12) + 0.193 (X7) + -0.123 (X4) + 0.112 (X13) + -0.146 (X5) + 0.082 (X6)
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
เจริญผล สุวรรณโชติ. (2551). ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : เอกพิมพ์ไทย.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. มหาวิทยาลัยทักษิณ : สงขลา.
ฉันทนา งามบุญฤทธิ์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทไม้อัดไทย จำกัด. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา : กรุงเทพมหานคร.
ณรารัตน์ แป้นเมือง. (2550). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 9. การศึกษาอิสระการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาสารคาม.
ณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์ (2552) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันในองค์กรของพนักงานเขตการเดินรถที่ 1 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ : ปทุมธานี.
ดารณี พานทอง พาลุสุข และสุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2544). ทฤษฎีแรงจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ไทยพัฒนาพานิชย์ : กรุงเทพมหานคร.
ธนวรรณ สุระธรรมนิติ. (2549). ความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณu : จันทบุรี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). จะเสริมสร้างความผูกพันของคนต่อองค์กรเพื่อการธำรงรักษาไว้ได้อย่างไร?.วารสาร For Quality. 12(13) : กรุงเทพมหานคร.
นรา สมประสงค์. (2536). ทฤษฎีและแนวคิดในการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุรี.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักส์.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2541). การออกแบบการวิจัย ประชาชน. : กรุงเทพมหานคร.
ประวิทย์ เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้าวิชาการ.
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. ม.ป.ส. : กรุงเทพมหานคร.
พิชญากุล ศิริปัญญา. (2545). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (เชียงใหม่) จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2530). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : กิ่งจันทร์การพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สารจากอธิการบดี, มหาวิทลัยมหิดลในปัจจุบัน. สืบค้นวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 จากhttps://mahidol.ac.th/th/welcome/
ยงยุทธ เกษสาคร. (2544). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : BK.Booknet.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. อักษรเจริญทัศน์. กรุงเทพมหานคร.
ลักขณา สริวัฒน์. (2539). จิตวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
วิภาพร มานพสุข. (2543). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
สมพร สุทัศนีย์. (2542). มนุษยสัมพันธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร.
สุพาณี สฤษฏ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร.
สุพัตรา สุภาพ. (2536). เทคนิคการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพยุคใหม่ : เน้นพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมนิติ.
Cronbach, Lee J. (1984). Essential of Psychological Testing. 2nd ed., New York : Harper and Row.
Ferguson, George A. (1981). Statistical Analysis in Psychology and Education. 3rd New York: McGraw-Hill Book Company.
Mowday, R.T., Steers R.M. and Porter, L.W. (1979), “The Measurement of Organizational Commitment,” Journal of Vocational Behavior. 14 (2) : 113.
Steers, R.M. (1977). “Antecedents and Outcome of Organization Commitment,” Administrative Science Quarterly, 35 (5) : 3 – 60.
Steers, R.M. and Lyman, W.P. (1979). Motivation and Work Behavior. 2nd ed. New York : MeGraw – Hill.
Steers, R.M. (1983). Introduction of Organization Behavior. 2nd ed. Scott : Foreman.
Steers, R.M. and Porter, L.W. (1983). Motivation and Work Behavior. 3rd ed. New York : McGraw - Hill.
Steers, R.M. (1991). Introduction Organization Behavior. 4th ed. New York : Harper Collins.
Valentne, S., Godkin, L. and Lucero, M. (2002). Ethieal Context, Organizational Commitment and Person Organizational Fit. (Online). Available : http://www.proquest.umi.com/.
Vroom, V.H. (1970). Management and Motivation. Baltimore : Penguin.