แนวทางการปรับปรุงผังบริเวณสำหรับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเขตบริการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่ รวมถึงศักยภาพของพื้นที่และผังบริเวณของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการใช้งาน ความต้องการของผู้ใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณเขตบริการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ 3) เพื่อสรุปลักษณะและปริมาณสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องมีในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตามสภาพพื้นที่ และเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรังปรุงผังบริเวณสำหรับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง และการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพทั่วไปปัจจุบันของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณสามารถแบ่งตามเขตการใช้พื้นที่เดิมเป็น 4 ประเภท ได้แก่ โซนบริการ โซนบ้านพักเจ้าหน้าที่ โซนพักแรม และโซนนันทนาการ อีกทั้งพื้นที่ศึกษาได้เปิดการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี จึงส่งผลต่อการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะต้องมีการป้องกันผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสภาพระบบนิเวศและอันตรายที่จะเกิดต่อนักท่องเที่ยว การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมิฉะนั้นจะเกิดความเสริมโทรมต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพยากรในพื้นที่
- การวิเคราะห์ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตบริการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ โดยนำข้อมูลจากภาพถ่ายทางดาวเทียมบริเวณพื้นที่ศึกษา พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ร่วมกับผังบริเวณ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีอยู่เดิม และจากสำรวจภาคสนาม เพื่อปรับปรุงเป็นผังบริเวณ พ.ศ. 2561 และนำผังบริเวณมาวิเคราะห์การแบ่งเขตการใช้พื้นที่ในปัจจุบัน พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียสู่แนวทางการปรับปรุงผังแบ่งเขตการใช้พื้นที่ในอนาคต
- เสนอแนะให้รื้อถอนที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ บ้านพักเจ้าหน้าที่ บ้านพักนักท่องเที่ยว โรงจอดรถ โรงพัสดุ โรงซักรีด ห้องน้ำ-ห้องสุขา ร้านค้าร้านอาหารที่ต่อเติมรุกล้ำ และร้านสวัสดิการ เป็นต้น โดยลงตำแหน่งใหม่ในผังบริเวณโดยคำนึงถึงหลักการการแบ่งเขตการใช้พื้นที่ (Zoning) ที่เหมาะสมจำนวนสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่สมดุลกับจำนวนผู้ใช้งานทดแทนสิ่งปลูกสร้างเดิม การวางตำแหน่งอาคารที่คำนึงถึงบริบทโดยรอบและการใช้งาน การใช้หลักของการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักเที่ยวและการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
4. แนวทางการปรับปรุงผังบริเวณสามารถแบ่งเขตออกเป็น 6 ประเภท คือ โซนบริการ โซนบ้านพักเจ้าหน้าที่ โซนพักแรม โซนดูแลบำรุงรักษา โซนนันทนาการ และโซนพื้นที่ธรรมชาติ
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
เรืองศักดิ์ ทีฆะสุข. (2551). การออกแบบผังบริเวณเพื่อการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในเขตบริการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สำนักอุทยานแห่งชาติ. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2540). แผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ พ.ศ.2537-2540. ส่วนศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2554). การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
IUCN. (1984). Catergories. Objectives and Criteria for Protected Area. Cited J.A. Macneecy. National Parks, Conservation, and Development. Smithsonian Institution Press, Washington D.C.
มารุต ยอดสินชัย. (2553). แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติไทรโยค น้อย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). ระบบบำบัดน้ำเสีย, จาก http://www.pcd.go.th/
กรมทรัพยากรธรณี. (2558). ธรณีวิทยาและแหล่งเรียนรู้ทาธรณีวิทยาจังหวัดกาญจนบุรี, จาก http://www.dmr.go.th/
กรมทรัพยากรน้ำ. (2559). ร่างประราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ, จาก http://news.dwr.go.th/
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณชีวิตคนพิการ. (2558). กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555, จาก http://dep.go.th/